
ปัญหาโรคร้ายสัตว์เลี้ยงภายในฟาร์ม ป้องกันได้ไม่ยากเท่าที่คิด
ในการเลี้ยงสัตว์ ผู้เลี้ยงทุกคนมีความต้องการให้สัตว์ที่มีสุขภาพดีและปราศจากโรค การที่สัตว์จะมีสุขภาพดีได้นั้นขึ้นอยู่กับว่าการได้กินอาหารที่มีคุณภาพดี การจัดการที่ดี การสุขาภิบาลที่ถูกต้อง และมีการป้องกันโรคที่ดี เมื่อสัคว์มีสุขภาพดีจะทำให้ผู้เลี้ยงสามารถลดต้นทุนค่ายาและค่ารักษาลงได้ ทำให้สัตว์สามารถให้ผลผลิตได้เต็มความสามารถ และทำให้ได้ผลตอบแทนที่สูง แต่จะทำอย่างไรผู้เลี้ยงถึงจะได้สัตว์ที่มีสุขภาพดี จึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากที่ผู้ที่เลี้ยงต้องทำความเข้าใจ และปฏิบัติต่อสัคว์อย่างถูกต้องด้วย

ปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคร้ายแรงต่อสัตว์
1.อากาศและการถ่ายเทอากาศ
สัตว์เลี้ยงทุกชนิดชอบอากาศเย็นสบายและมีการถ่ายเทอากาศดี ซึ่งจะทำให้สัตว์อยู่อย่างสุขสบายและมีสุขภาพดี
2.ความชื้น
ถ้าบริเวณที่มีความชื้นสูงเกินไปก็มักจะเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อสัตว์ และถ้าความชื้นเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอก็จะทำให้สัตว์ไม่สบายดังนั้นปริมาณความชื้นควรที่จะพอเหมาะไม่สูงหรือต่ำจนเกินไป
3.อาหาร
อาหารที่ใช้เลี้ยงสัตว์ควรเป็นอาหารที่มีคุณภาพที่ดีให้ปริมาณสารอาหารเพียงพอกับความต้องการของสัตว์และสัตว์สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ทำให้สัตว์มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง
4.คอกและโรงเรือน
คอกและโรงเรือนคอกและโรงเรือนเป็นสถานที่ที่จำเป็น เพื่อให้สัตว์และพักอาศัยและป้องกันศัตรูที่จะมารบกวน ดังนั้นคอกและโรงเรือนควรที่จะแข็งแรงและสะอาดไม่เป็นแหล่งสะสมโรค มีการถ่ายเทอากาศดี ทำให้สัตว์อยู่อย่างสุขสบายและมีสุขภาพที่ดี

เชื้อโรคที่ทำให้สัตว์เกิดโรคร้ายแรง
สาเหตุของเชื้อโรคที่ทำให้สัตว์ป่วยเป็นโรคนั้นสำคัญมากเพราะเป็นสาเหตุที่ทำให้สัตว์ตายได้มากกว่าสาเหตุอื่นๆ สาเหตุเชื้อโรคที่ทำให้เกิดโรคแก่สัตว์ได้แก่
1.เชื้อไวรัส ส่วนมากไม่มียารักา และมักเป็นปัญหาของโรคระบาดในสัตว์เช่น โรคอหิวาห์สุกร โรคปากและเท้าเปื่อย โรคพิษสุนัขบ้าเทียม โรคฝีดาษ โรคทีจีอี โรคพาโวไวรัส โรคลำไส้อักเสบติดต่อ โรคนิวคาสเซิล โรคมาเร็กซ์ เป็นต้น
2.เชื้อแบคทีเรีย ส่วนมากใช้ยารักษาได้ และมักพบว่าเป็นปัญหาในการเลี้ยงสัคว์ เช่น โรคมดลูกอับเสบ โรคเต้านมอักเสบ โรคบาดทะยัก โรคท้องเสีย โรคติดเชื้อทางระบบหายใจ โรคข้อบวมในลูกสุกร เป็นต้น ส่วนโรคที่เป็นปัญหาของโรคระบาดในสัตว์ เช่น โรคแท้งติดต่อ โรคหวัดหน้าบวมหรือโรคหวัดติดต่อ โรคโพรงจมูกอักเสบ โรคซัลโมเนลโลชีส โรคไฟลามทุ่ง โรคแอนแทรกซ์ เป็นต้น
3.เชื้อมายโคพลาสม่า ส่วนมากใช้ยารักษาได้ และมักเป็นปัญหาของโรคทางระบบหายใจ เช่น โรคปอดบวม โรคเอนซูติกนิวโมเนีย โรคเรื้อรังทางระบบหายใจ เป็นต้น
4.เชื้อโปรโตซัว สามารถใช้ยารักษาได้ และมักพบเป็นปัญหาของโรคทางเดินอาหาร (ท้องเสีย) เช่น โรคบิด โรคท็อกโซพลาสโมซีส เป็นต้น
5.เชื้อสไปไรซีส สามารถใช้ยารักษาได้ และมักพบเป็นปัญหากับระบบสืบพันธุ์และทางเดินอาหาร เช่น โรคแล็ปโตสไปโรซีส เป็นต้น
6.เชื้อรา จะสร้างสารพิษที่เป็นอันตรายต่อสัตว์ ซึ่งสารพิษนี้ไม่มียาทำลายได้ เช่น เชื้อรา ชนิดแอสเปอจิลลัส เฟลวัสจะสร้างสารพิษอะฟลาท็อกซิน ทำให้เกิดโรคแอสเปอจิลโลซีส เป็นต้น
7.พยาธิภายในและภายนอก ยาสามารถรักษาได้ เช่น พยาธิตัวกลม พยาธิตัวแบน พยาธิตัวติด เหา ไร เป็นต้น
เมื่อเชื้อโรคทั้ง 7 กลุ่มนี้ผ่านเข้าสู่ร่างกายสัตว์ ซึ่งอาจโดนทางบาดแผลที่ผิวหนังหรือทางเดินหายใจ หรือผนังทางเดินอาหาร หรือรูเปิดธรรมชาติของร่างกาย เช่น เยื่อบุตา หู จมูก และปาก เป็นต้น ร่างกายสัตว์ก็จะพยายามฆ่าหรือทำลายเชื้อโรคเหล่านี้โดยอาศัยระบบต่อต้านของร่างกาย และถ้าเชื้อโรคสามารถหนีพ้นระบบต่อต้ายและกำจัดเชื้อโรคของร่างกายสัตว์ได้ เชื้อโรคก็จะเคลื่อนเข้าสู่กระแสเลือด ซึ่งเรียกสภาวะนี้ว่า “โลหิตเป็นพิษ” อาการที่พบได้จากสัตว์ป่วย คือ ไข้สูง เจ็บปวด ไม่กินอาหาร และอ่อนแอ เป็นต้น
อาการป่วยของสัตว์ที่ตรวจพบได้จากการติดเชื้อโรคของระบบต่างๆ
อาการป่วยของสัตว์ที่สามารถตรวจพบได้จากการติดเชื้อโรคของระบบต่างๆ ดังนี้
1.โรคติดเชื้อทางระบบหายใจ
อาการที่ตรวจพบได้คือ สัตว์มีไข้สูง เยื่อตาแดง ซึม เบื่ออาหาร หรือไม่กินอาหาร ไอจาม หายใจลำบาก หรือหายใจแรง หรือหอบ น้ำมูกไหลและมีขี้ตา
สำหรับยาที่ให้ผลต่อโรคติดเชื้อระบบหายใจที่เกิดขึ้นจากเชื้อแบคทีเรีย ได้แก่ ยาปฏิชีวนะ ตัวอย่างเช่น ยาเพ็นนิซิลลิน ยาไทโรซิน ยากลุ่มเตตร้าไซคลิน และยาอีริโทรมัยซิน เป็นต้น และยากลุ่มซัลฟา และถ้ามีไข้สูงก็ควรให้ยาลดไข้ร่วมด้วย ตัวอย่างเช่น ยาพาราเซ็ททามอน ยาโนวายิน เป็นต้น
2.โรคติดเชื้อทางระบบทางเดินอาหาร
อาการที่สามารถตรวจพบได้คือ มีไข้สูง อุจจาระเหลวเป็นน้ำ มีสีเหลืองหรือแดงหรือน้ำตาล หรือมีมูกเลือดปนออกมาด้วย ถ้าไม่รีบทำการรักษาสัตว์ป่วยจะมีอาการผิวหนังแห้งขนหยาบไม่เป็นขนมัน ซึม และเบื่ออาหาร
สำหรับยาที่ให้ผลต่อโรคติดเชื้อทางระบบทางเดินอาหารที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ได้แก่ ยาปฏิชีวนะ ตัวอย่างเช่น ยาสเต็ปโตมัยซิน ยานีโอมัยซิน และยาคลอแรมเฟนนิคอน เป็นต้น ยากลุ่มซัลฟา และยาสังเคราะห์ในกลุ่มไนโตรฟูราโซน และถ้าสัตว์สูญเสียน้ำมากก็ควรให้น้ำเกลือโดยการฉีดเข้าเส้นเลือด
3.โรคติดเชื้อทางระบบสืบพันธุ์
อาการที่ตรวจพบได้คือ มีไข้ หนองไหลจากช่องคลอด เต้านมบวมแดง ร้อน และแข็ง ซึม และเบื่ออาหาร ในกรณีสัตว์ท้องพบว่าจะทำให้แท้งลูก
สำหรับยาที่ให้ผลต่อโรคติดเชื้อทางระบบสืบพันธุ์ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ได้แก่ ยาปฏิชีวนะ ตัวอย่างเช่น ยาเพ็นนิซิลิน ยาลิวโอซิลิน ยาคลอแรมเฟนนิคอล และยากลุ่มเตตร้าไซคลิน เป็นต้น และยากลุ่มซัลไฟ (ในกรณีการรักษาเต้านมอักเสบของโคนิยมใช้ยาสอดเข้าในหัวนม หรือใช้ยาเหน็บในช่องคลอดกรณีรักษามดลูกอักเสบ)
4.โรคติดเชื้อทางระบบประสาท
อาการที่สามารถตรวจพบได้คือ มีไข้สูง ท่าเดินแข็งผิดปกติ ตัวสั่นจนกินอาหารไม่ได้ เดินไม่สัมพันธ์กัน ขาเกร็ง และชัก
สำหรับยาที่ให้ผลต่อโรคติดเชื้อทางระบบประสาทที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เช่น โรคบาดทะยัก ยาปฏิชีวนะที่ใช้รักษาคือ ยาเพ็นนิซิลิน และยาแอนตี้ท็อกซิน
5.โรคติดเชื้อทางระบบขับถ่ายปัสสาวะ
อาการที่ตรวจพบได้คือ มีไข้ ปัสสาวะขุ่นขาวหรือมีสีน้ำตาลแดง อาจพบอาการซึมและเบื่ออาหารด้วย
สำหรับยาที่ให้ผลต่อโรคติดเชื้อทางระบบขับถ่ายปัสสาวะที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียนั้นส่วนมากนิยมใช้ยากลุ่มซัลฟา
สำหรับอาการที่กล่าวมาทั้ง 5 ระบบ เป็นเพียงอาการของโรค ซึ่งอาจจะพบเพียงอาการใด อาการหนึ่งเท่านั้น ไม่จำเป็นจะต้องค้นพบทั้งหมด ดังนั้นถ้าสัตว์เลี้ยงแสดงอาการป่วยดังที่กล่าวมา แล้วข้างต้นให้ทำการรักษาด้วยตนเองได้ แต่ถ้าการรักษาโรคไม่ตอบสนองต่อยาที่ใช้หรือเกิดปัญหาการระบาดของโรคให้รีบแจ้งหน่วยงานสัตวแพทย์โดยด่วน
# โรคที่มักเกิดกับสัตว์เลี้ยง!! #
โรค คือ สภาวะของร่างกายที่ไม่ทำหน้าที่ ถ้าส่วนของร่างกายที่ไม่สำคัญไม่ทำงาน สัตว์จะไม่ตาย เช่น โรคเบาหวาน เนื่องจากสัตว์ไม่ตาย เช่น โรคเบาหวาน เนื่องจากสัตว์ไม่สร้างอินซูลิน มาควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด แต่แก้ไขได้โดยให้ฮอร์โมนอินซูลินชดเชยได้ แต่ถ้าส่วนของร่างกายที่สำคัญไม่ทำงาน จะมีผลทำให้สัตว์ตาย เช่น โรคตับล้มเหลว โรคหัวใจล้มเหลว เป็นต้น
โรคที่เกิดขึ้นกับสัตว์ในฟาร์มนั้น มีทั้งโรคระบาด (คือ โรคที่สามารถแพร่จากสัตว์หนึ่งไปยังสัตว์อื่นได้อย่างรวดเร็ว) และไม่โรคไม่ระบาด (คือ โรคที่ไม่สามารถแพร่จากสัตว์ป่วยตัวหนึ่งไปยังสัตว์ตัวอื่นๆ หรือเป็นโรคเฉพาะตัว) โรคที่มักเกิดขึ้นกับสัตว์ในฟาร์มได้แก่

โรคฮโมรายิคเซพติดซีเมียหรือโรคคอบวม (Hemorrhagic septicemia)
เป็นโรคร้ายแรงใน โค กระบือ สุกร ไก่ มักมีอัตราการตายสูง
สาเหตุ เกิดจากเชื้อแบคทีเนีย ชื่อ Pasteurella sp. มีอยู่หลายชนิดเช่น ในโค กระบือ เกิดจากเชื้อ Pasteurella multocida เป็นต้น อาจมีการติดเชื้อข้าม species ในสัตว์แต่ละชนิดก็ได้
การติดต่อ
- โดยตรงจากการสัมผัสกับสัตว์ป่วย
- กินอาหารและน้ำที่มีเชื้อโรค
อาการ
- มีไข้สูง เบื่ออาหาร มีน้ำมูก บางครั้งไอ
- มีอาการบวมอักเสบ หลังแข็งเอี้ยวตัวไม่ได้
- มีอาการท้องร่วง บางครั้งมีเลือดปน
- มีอาการเลือดออกและเลือดคั่งตามอวัยวะต่าง ๆ
- สภาพโลหิตเป็นพิษ และตายในระยะต่อมา
การรักษา ให้ยาปฏิชีวนะ ได้แก่ ยาสเตร็ปโตมัยซิน หรือกลุ่มยาเตตร้มซัยคริน
การป้องกัน ทำวัคซีนแบคเทอริน ทุก 6 เดือน

โรคเล็ปโตสไปไรชีส (Leptospirosis)
เป็นโรคที่เกิดกับสัตว์ได้ทุกช่วงอายุ โดยเฉพาะแม่สัตว์จะทำให้แท้งลูกได้ สามารถติดต่อสู่คนได้โดยเชื้อเข้าทางบาดแผล ในขณะสัมผัสกับสัตว์ป่วยหรือการชำแหละซากสัตว์ที่มีเชื้อโรค หรือการใช้น้ำหรือกินเนื้อหรือนมที่มีชื้อโรคอยู่และไม่สุก
สาเหตุ เกิดจากเชื้อเล็ปโตสไปร่า มีอยู่หลายชนิด เชื้อโรคนี้ถูกขับออกจากร่างกายทางปัสสาวะและสิ่งขับถ่ายที่แท้งออกมา ทำให้เชื้อโรคแพร่ระบาดได้
ระยะฟักตัวของโรค 1-2 สัปดาห์
การติดต่อ
- เชื้อโรคเข้าทางบาดแผลของผิวหนังหรือเยื่อบุตา
- กินอาหารและน้ำที่มีเชื้อโรค
- หายใจเอาเชื้อโรคที่อยู่ในอากาศเข้าไป
- แมลงดูดเลือดเป็นตัวแพร่เชื้อโรคนี้
อาการ แม่สัตว์จะแสดงอาการไข้สูง เบื่ออาหาร ล้มลงนอน ไม่มีแรงลุกขึ้น หายใจถี่หอบมีฮีโมโกลบินและเลือดในปัสสาวะ หลังแสดงอาการป่วยแล้วประมาณ 10 วัน แม่สัตว์ท้องจะแท้งลูก ถ้าไม่แท้งลูกที่คลอดออกมาจะตายก่อนคลอดหรือเป็นมัมมี่ หรือลูกสัตว์ที่คลอดจะอ่อนแอส่วนในลูกสัตว์มีอาการไข้ขึ้น แล้วค่อยๆลดลงภายใน 48 ชั่วโมง มีอาการดีซ่านโดยมีเม็ดเลือดแดงลดลงและเม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้นจากปริมาณปกติ ในโคนมจะให้น้ำนมลดลง น้ำนมมีสีแดงหรือสีเหลือง และลักษณะน้ำนมจับกันเป็นสาย ซึม เบื่ออาหาร เชื้อโรคนี้ส่วนใหญ่จะเป็นสาเหตุทำให้ไตถูกทำลายโดยไตจะมีจุดสีขาว ในกรณีเชื้อรุนแรงโดยเฉพาะที่เกิดกับลูกสัตว์อาจทำให้ตายภายใน 5-7 วัน และในลูกสัตว์ที่กินนมน้ำเหลืองจากแม่ที่เคยเป็นโรคแล้วหายจะมีภูมิคุ้มกันโรคนาน 1-2 เดือน
สิ่งที่บ่งบอกว่าฟาร์มได้เกิดโรคเล็ปโตสไปโรซีส คือ
- การแท้งลูกในช่วงท้องได้ 2 เดือน จนกระทั่งใกล้คลอด
- ลูกสัตว์ตายก่อนคลอดมากกว่าลูกสัตว์ที่คลอดมีชีวิต
- ลูกสัตว์ที่คลอดออกมา อ่อนแอ
- น้ำปัสสาวะมีสีน้ำตาลเข้ม
การป้องกัน
- การจัดการฟาร์มและสุขาภิบาลที่ดี
- การกักโรคสัตว์ใหม่และการตรวจโรค
การรักษา
1.ให้ยาปฏิชีวนะ ได้แก่ ยาสเตร็ปโตมัยซิน หรือกลุ่มยาเตตร้าซัยคลิน
2.ใช้ยาฆ่าเชื้อโรคลาดพื้นคอกนาน 2-3 สัปดาห์

โรคท็อกโซพลาสโมซีส (Toxoplasmosis)
โรคที่พบได้ในสุกรทุกอายุ แต่ลูกสุกรและแม่สุกรจะแสดงอาการรุนแรงมากกว่า
สาเหตุ เกิดจากเชื้อโปรโตซัว Toxoplasma gondii พบได้ในอุจจาระแมวและสามารถอยู่ในดินชื้นได้นานหลายเดือน
การติดต่อ
1.กินอาหารและน้ำที่มีเชื้อโรค
2.หายใจเอาเชื้อโรคที่อยู่ในอากาศเข้าไป
อาการ ในแม่สุกรแสดงอาการเบื่ออาหาร หายใจลำบาก ไข้สูง 104-106 องศาฟาเรนไฮต์ และส่วนท้ายจะไม่มีแรงหรืออัมพาต ในรายรุนแรงแม่สุกรจะตายภายใน 1-2 วันหลัง แสดงอาการป่วย แม่สุกรท้องอาจจะแท้งหรือให้ลูกสุกรตายหรืออ่อนแอ แต่ลูกสุกรพบอาการรุนแรงมากกว่าและสามารถติดต่อถึงลูกสุกรได้โดยทางน้ำนมแม่
- ลูกสุกร แสดงอาการหายใจลำบาก เยื่อตาอักเสบ ขี้ไหล ควบคุมตัวเองไม่ได้และสั่น และอัตราการตายสูงถึง 100%
- สกุรรุ่นและสุกรใหญ่ แสดงอาการไข้สูง เบื่ออาหาร ไอ หายใจลำบากเล็กน้อย ผิวผนังที่หูและท้องอาจจะแดง พบอัตราการเกิดโรค 20-30% แต่อัตราการตายต่ำ
การป้องกัน
- กำจัดแมวออกจากฟาร์ม
- มีการจัดการฟาร์มและการสุขาภิบาลที่ดี
- มีการกักโรคสุกรใหม่
การรักษา ให้ยาซัลฟาไดอะซีน (72.6 มิลลิกรัม/น้ำหนัก 1 กิโลกรัม) และยาไพริเม็ธทามีน (0.44 มิลลิกรัม/น้ำหนัก 1 กิโลกรัม) และอาจเสริมวิจามินบีด้วย

โรคบิด (Poultry Coccidiosis)
เป็นโรคที่สำคัญโลกหนึ่งของสัตว์ปีกซึ่งเกิดขึ้นได้ในทั้งเป็ด ไก่และห่าน โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนจะพบอุบัติการณ์ของโรคนี้มากเนื่องจากฝนสาดหรือหลังคารั่ว ทำให้วัสดุรองพื้นมีความชื้นสูงประกอบกับอุณหภูมิภายในโรงเรือนอบอุ่นพอเหมาะ จะทำให้เชื้อบิดเจริญเติบโตได้ดี เป็นโรคที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เลี้ยงเป็นอันมากเป็นโรคนี้อาจพบระบาดในไก่อายุแค่ 10 วันแต่จะพบมากที่สุดในไก่อายุระหว่าง 2- 14 สัปดาห์ ในไก่ใหญ่ก็พบได้เช่นกันอัตราการตายค่อนข้างสูงไก่ที่ป่วยถ้ารักษาหายก็จะมีอาการแคระแกรน อัตราการไข่ลดลง
สาเหตุ เกิดจากเชื้อโปรโตซัวไอเมอเลียมีอยู่หลายชนิดสามารถอยู่ทั้งในลำไส้เล็กและลำไส้ตัน
ระยะฟักตัว ประมาณ 4-6 วัน หลังจากกินไข่เชื้อบิดเข้าไป
การติดต่อ ไก่ได้รับไข่ของเชื้อบิด ซึ่งปนมากับอาหาร วัสดุรองพื้น หรือติดมากับรองเท้าผู้เลี้ยง ไข่ของเชื้อบิดจะเข้าสู่ผนังลำไส้และเจริญเติบโตอยู่ภายในลำไส้จนได้ไข่ของเชื้อบิดออกมาแล้วปล่อยออกไปกับอุจจาระต่อไป
อาการ ไก่เล็กจะมีอาการซึม ง่วงนอน ตัวซีด ผอม ไม่กินอาหาร เนื่องจากลำไส้อักเสบไก่จะยืนหรือนั่งอยู่กับที่ไม่ไปไหนนอกจากจะบังคับให้เคลื่อนที่ อุจจาระเหลว บางทีมีเลือดปนไก่หลายตัวอาจตายในเวลาอันสั้น บางทีอาจจะพบไก่ตายวันละ 2-3 เป็นระยะเวลานานบางครั้งไก่มีเชื้ออยู่แต่ไม่แสดงออกมาจนกว่าร่างกายจะอ่อนแอ ไก่ในฝูงไม่ค่อยเจริญเติบโต การตายในไก่ไข่จะต่ำกว่าแต่การไข่จะลดลง การวินิจฉัยที่แน่นอนที่สุดต้องทำในห้องปฏิบัติการ
การป้องกัน
- ให้ยาป้องกันบิดในความเข้มข้นสำหรับป้องกันโรค ผสมอาหารให้ไก่กินประจำวันติดต่อกัน
- การจัดการสุขภิบาลภายในเล้าให้ดีและรักษาให้วัสดุรองพื้นแห้ง
- ทำความสะอาดเล้าและกรงที่เลี้ยง เพื่อกำจัดไข่เชื้อบิดที่ออกมากับอุจจาระไก่ป่วย
- หลีกเลี่ยงการเลี้ยงไก่หนาแน่นเกินไป
การรักษา
- เมื่อโรคบิดระบาด ยาที่ใช้คือ ยาซัลฟา เช่น ซัลฟาเมททาซิน หรือซัลฟาควิน็อกซาลิน หรือแอมโพรเลี่ยม ละลายน้ำให้ไก่กินเป็น 4-7 วัน โดยให้ยาดังนี้ ครั้งแรกให้ยา 2-3 วัน แล้วหยุดให้ยา 3 วัน ครั้งที่ 2 ให้ยา 2 วัน แล้วหยุดให้ยา 2 วัน และครั้งที่ 3 ให้ยา 2 วัน
- ให้อาหารที่มียาป้องกันบิดแอมพรอล 25% ผสมอยู่ด้วย




Bactocel 4001 จุลินทรีย์กำจัดกลิ่นเหม็นและของเสียในคอกสัตว์
แบคโตเซล 4001 คือกลุ่มของแบคทีเรียที่มีประโยชน์สามารถช่วยสลายสิ่งปฏิกูล และเศษอาหารที่เหลือตกค้างในคอกสัตว์ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดกลิ่นเหม็น ช่วยป้องกันโรคต่างๆที่เกิดกับสัตว์เลี้ยง ตลอดจนปัญหาแมลงวันรบกวนจะหมดไป รวมถึงช่วยแก้ปัญหาเกี่ยวกับมลภาวะต่างๆ ที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญภายในฟาร์ม และชุมชนให้หมดไป
วิธีการใช้
1.คอกหมู
ใช้ ในอัตรา 100 ซีซี. ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วพื้นที่คอก สัปดาห์ละครั้ง ทำให้คอกสัตว์สะอาด ปราศจากกลิ่นเหม็นและแมลงวันอีกทั้งสามารถป้องกันโรคต่างๆได้ หากหมูเป็นโรคปากเท้าเปื่อย ให้ใช้ ผสมน้ำฉีดพ่นให้ทั่วตัว และบริเวณกีบเท้า อาการจะค่อยๆทุเลาลง
2.คอกวัว
ใช้ ในอัตราเดียวกัน ฉีดพ่นให้ทั่วพื้นที่คอก กลิ่นเหม็นและแมลงวันจะลดลงและหมดไปในที่สุด อีกทั้งช่วยป้องกันโรคกีบเท้าเปื่อย ในวัวเนื้อและวัวนมอีกด้วย
3.ฟาร์มไก่
ใช้ ในอัตราเดียวกัน ฉีดพ่นให้ทั่วพื้นที่บริเวณใต้
เล้าไก่และที่รองรับมูลไก่ สำหรับไก่ไข่ จะสามารถกำจัดแก๊สไข่เน่า แก๊สแอมโมเนีย ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ไก่เป็นโรคตาอักเสบและโรคระบบทางเดินหายใจ ซึ่งทำให้ ไก่ไข่น้อยลงเปลือกไข่บาง มีเปอร์เซ็นต์ไข่ร้าวและแตกสูง