หยุดปัญหา “กลิ่นเหม็นคอกสัตว์ รบกวนเพื่อนบ้าน”
เบื่อหน่ายกันใช่ไหม? กลิ่นเหม็นคอกสัตว์โชยรบกวนบริเวณบ้าน หรืออาจส่งผลไปถึงชุมชนและบริเวณใกล้เคียง ทำให้เกิดปัญหาขัดแย้งกันเกิดขึ้นของเพื่อนบ้าน เป็นที่หนักใจแต่ในวันนี้เรามีตัวช่วยแก้ปัญหาเล่านั้น แต่ก่อนถึงนั้นเรามาทราบปัญหาของกลิ่นเหม็นในคอกสัตว์กันก่อนว่าเกิดอะไรขึ้น ถึงส่งผลให้มีกลิ่นเหม็นได้อย่างนี้
กลิ่นเหม็นภายในคอกสัตว์ เกิดจากอะไรบ้าง?
โรงเรือนเลี้ยงสัตว์
- กลิ่นเหม็นจากการหมักหมมของ มูลและปัสสาวะของสัตว์เลี้ยง
- กลิ่นเหม็นจาก ส้วม รางระบายน้ำ และ อาหารที่บูดเน่าเสีย
- โรงเรือนไม่ได้มาตรฐาน มีที่ระบายอากาศที่ไม่ดี ก่อให้เกิดกลิ่นเหม็นสะสมรุนแรง
- ด้านหลังพัดลมโรงเรือน ไม่สามารถพากลิ่นไปได้ไกลหลายกิโลเมตร
- เกิดจากการย่อยสลายแบบไม่ใช้ออกซิเจนของสิ่งขับถ่ายและวัสดุรองพื้น
สถานที่รวบรวมมูลสัตว์/ลานตากมูล/โรงเก็บมูล
- การตากมูลหรือปล่อยให้มูลที่ตากมีความชื้นหรือโดนฝนจะทำให้เกิดกลิ่นเหม็นรุนแรง
- ขาดการเอาใจใส่ใส่การเก็บข้อมูลที่แห้งแล้ว
- โรงเก็บมูลไม่สามารถป้องกันความชื้นได้ดีพอ
ระบบรวบรวมและบำบัดน้ำเสีย
- รางระบายน้ำเสียและบ่อพักน้ำเสียมีการสะสมของเสีย
- การดูแลรักษาระบบบำบัดน้ำเสียที่ไม่ดี มีการอุดตัน
วิธีจัดการปัญหา!!
การจัดการวัสดุรองพื้นคอก
- วัสดุรองพื้นคอก ควรหนาประมาณ 10-15 เซนติเมตร และควรเป็นวัสดุที่แห้งง่ายไม่อัดแน่นไม่เป็นฝุ่นและไม่ขึ้นรา เช่น แกลบ ทราย ฟางสับ ขี้เลื่อย เปลือกถั่ว เป็นต้น
- หากส่วนประกอบน้ำหนักแห้ง ของวัสดุรองพื้นคอกหรือมูลสัตว์อยู่ที่ 60% ขึ้นไป จะทำให้การแพร่กระจายของก๊าซแอมโมเนียลดลง
ป้องกันการหกหรือรั่วไหลของน้ำ
- ควรมีการใช้พัดลมระบายอากาศ
- ควรมีการจัดการระบบการให้น้ำดื่มที่ดีโดยใช้กระบวนการใช้น้ำอัตโนมัติแบบหัวหยด
หลังจากจับสัตว์ปักออกจากโรงเรือน
- นำวัสดุรองพื้นไปผึ่งให้แห้งเพื่อนำไปใช้เป็นปุ๋ย
- นำไปผลิตกระแสไฟฟ้าโดยใช้วิธีหมักแบบไร้อากาศได้ก๊าซชีวภาพหรือทำการย่อยสลาย
แบคทีเรียสะสม ก่อเกิดโรคร้ายแรงได้!
3 โรคร้ายของ วัว หมู และไก่
- โรคปากและเท้าเปื่อย (วัว) เกิดจากเชื้อไวรัส เอฟ เอ็ม ดี (FMD) ที่พบในประเทศไทยมี 3 ไทป์ คือ โอ (O) เอ (A) และเอเชียวัน (Asia I) เชื้อทั้ง 3 ไทป์นี้ จะทำให้สัตว์ป่วยแสดงอาการเหมือนกัน แต่ไม่สามารถให้ภูมิคุ้มกันต่างไทป์ได้ กล่าวคือถ้าฉีดวัคซีน เอฟ ไทป์ เอ ให้ หรือสัตว์เคยป่วยเป็นโรคเอฟ ไทป์ เอ มาก่อน สัตว์จะมีภูมิคุ้มกันเฉพาะต่อโรคเอฟ ไทป์เอ เท่านั้น แต่จะไม่มีภูมิคุ้มกันต่อโรคเอฟไทป์ โอ หรือ ไทป์ เอเชียวัน ดังนั้นหากมีโรคเอฟ ไทป์ โอ หรือเอเชียวันระบาดสัตว์ก็อาจจะติดโรคได้ โรคนี้มีระยะฟักตัว ประมาณ 2-8 วัน
- อาการ
โคที่เป็นโรคนี้ จะมีไข้ ซึม เบื่ออาหาร หลังจากนั้นจะมีเม็ดตุ่มพอง เกิดที่ริมฝีปากในช่องปาก เช่น เหงือกและลิ้น ทำให้น้ำลายไหล กินอาหารไม่ได้ และเกิดเม็ดตุ่มที่ระหว่างช่องกีบ ไรกีบ ทำให้เจ็บมาก เดินกะเผลก เมื่อเม็ดตุ่มแตกออกอาจมีเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย ทำให้แผลหายช้าขณะที่โคเป็นโรคจะผอมน้ำนมจะลดลงอย่างมาก ในโคอัตราการติดโรคสูงถึง 100% อัตราการตาย 0.2-5% ในลูกโคอัตราการตายอาจสูงถึง 50-70% โดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกโคที่ยังดูดนมอัตราการตายอาจสูงถึง 100%
- โรคอหิวาต์สุกร (หมู) เป็นโรคระบาดที่ร้ายแรงของสุกรซึ่งนำความสูญเสียทางเศรษฐกิจมาสู่เกษตรกรเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นโรคที่ระบาดได้รวดเร็วและเกิดกับสุกรทุกอายุมีอัตราการป่วยค่อนข้างสูง ส่วนอัตราการตายขึ้นอยู่กับความรุนแรงของเชื้อโรคและภาวะภูมิคุ้มกันโรคของสุกร ดังนั้นเกษตรกรจึงควรป้องกันมิให้เกิดโรคนี้ขึ้นในฟาร์ม โรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัส ที่สามารถมีชีวิตอยู่ได้นานในสภาพแวดล้อมปรกติ เช่น ในโรงเรือน สิ่งปูรอง และมูลสัตว์ เชื้อไวรัสจะถูกทำลายโดยสารจำพวกด่าง เช่น โซดาไฟ และครีซอล
- อาการ สุกรป่วยจะแสดงอาการหลังจากได่รับเชื้อประมาณ 1 สัปดาห์ อาการป่วยขึ้นอยู่กับความรุนแรงของเชื้อไวรัสและภูมิคุ้มกันโรคในสุกรแต่ละตัว
สุกรที่ได้รับเชื้อไวรัสชนิดรุนแรงมากจะแสดงอาการแบบปัจจุบัน โดยมีไข้สูง หนาวสั่น นอนสุมกัน เยื่อตาอักเสบ น้ำมูก น้ำตาไหล ระยะแรกของการมีไข้สุกรจะท้องผูก ระยะต่อมาจะท้องร่วง และมักพบอาการทางประสาทร่วมด้วย เช่น เดินโซเซ ขาหลังเป็นอัมพาตและชักในช่วงใกล้ตาย ในสุกรที่เป็นโรคแบบเรื้อรังหรือได้รับเชื้อชนิดรุนแรงน้อย อาการของโรคจะไม่เด่นชัด จึงอาจสังเกตุไม่เห็น โดยจะมีไข้เล็กน้อย ซึม เบื่ออาหาร อาการเหล่านี้จะหายไประยะหนึ่งและกลับเป็นขึ้นมาอีก สุกรจะแคระแกร็น ขนหยาบ กระด้าง และมักมีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน ทำให้ปอดบวม ปอดอักเสบและตายในที่สุด แม่สุกรที่ได้รับเชื้อขณะตั้งท้องจะทำให้แท้งลูก คลอดลูกกรอก หรือลูกสุกรตายแรกคลอด ส่วนลูกสุกรที่รอดชีวิต ก็จะอ่อนแอและมีอาการทางประสาท ลูกสุกรเหล่านี้จะเป็นพาหะที่สำคัญในการแพร่โรค
- โรคนิวคาสเซิล (ไก่) โรคนิวคาสเซิลเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัสในสัตว์ปีก เป็นโรคที่มีความสำคัญมากในสัตว์ปีกที่เลี้ยงเป็นอาหาร
อาการของโรคมีตั้งแต่อ่อนจนถึงรุนแรง โรคที่ติดต่อได้ง่ายและทำ ให้เกิดอาการรุนแรงเรียกว่า Exotic Newcastle
disease (END) ซึ่งทำ ให้มีสัตว์ปีกจำ นวนมากตายอย่างเฉียบพลันโดยไม่แสดงอาการของโรค
โรคนิวคาสเซิลติดต่อได้โดยการสัมผัสกับอุจจาระ หรือสิ่งคัดหลั่งจากระบบทางเดินหายใจของสัตว์ปีกที่ติดเชื้อ
เชื้อไวรัสมีชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นาน เชื้อไวรัสจากนกที่ติดเชื้อไวรัสสามารถแพร่กระจายไปกับอุปกรณ์ต่างๆ เช่น
รองเท้า เสื้อผ้า และอุปกรณ์การเลี้ยงสัตว์ได้
- อาการ นกที่ติดเชื้อนิวคาสเซิลอาจไม่แสดงอาการของโรคเลย หรืออาจตายอย่างกะทันหันได้นกที่ติดเชื้ออาจแสดงอาการ
ไอ จาม มีน้ำ มูก ซึม และท้องเสีย ในไก่ไข่ จะออกไข่ลดลงอย่างรวดเร็วและเปลือกไข่บาง
อาการของโรคชนิดรุนแรง คือ เนื้อเยื่อบริเวณหัวบวม กล้ามเนื้อสั่น ปีกตก คอบิด เดินวน อัมพาต หรือตาย
อย่างเฉียบพลัน