6 อันดับ ปลาสวยงามของไทย

6 อันดับปลาสวยงามของไทย

1.ปลากระเบนเสือดาว

ชื่อภาษาอังกฤษก็คือ Marbled whipray เป็นปลาประเบนน้ำจืดชนิดหนึ่ง มันจะอยู่ในวงปลากระเบนธง       รูปร่างเหมือนปลากระเบนชนิดอื่นๆในวงเดียวกัน หางยาว โดยตรงโคนหางจะมีเงี่ยงแหลมมีพิษ 1-2 ชิ้น โดยหางของพวกมัน สามารถงอกออกมาใหม่ได้เมื่อหลุดหรือหักไป กลางหลังมีเกล็ดเป็นตุ่มหยาบๆ มีจุดดำคล้ายลายของเสือดาวมีขนาดประมาณ 40 เซนติเมตร ปลากระเบนลายเสือ ที่พบอาศัยอยู่ค่อนมาทางน้ำจืด สามารถพบได้น้อยส่วนใหญ่ก็จะพบได้ตามปากแม่น้ำเช่น ปากแม่น้ำเจ้าพระยา ปากแม่น้ำโขง รวมไปถึงทะเลสาบเขมร

2.ปลาตะพัด

หรือที่นิยมเรียกกันว่า arowana เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งที่มีการสืบสายพันธุ์มาจากปลาในยุคก่อนประวัติศาสตร์ มันจัดอยู่ในวงศ์ปลาตะพัด นับว่าเป็นปลาที่ใกล้สูญพันธุ์ในธรรมชาติ เนื่องจากเป็นปลาที่สืบพันธุ์ยาก ประกอบกับแหล่งที่อยู่ถูกทำลาย โดยพวกมันได้รับความนิยมอย่างสูงของนักเลี้ยงตู้ปลา อยู่ช่วงนึง สำหรับชื่อ ‘ปลาตะพัด’ เป็นชื่อที่เรียกกันในภาคตะวันออกแถบจังหวัดจันทบุรีและตราด ในภาคใต้จังหวัดสุราษฎร์ธานีจะเรียกปลาชนิดนี้ว่า ‘หางเข้’ ในปัจจุบันสำหรับประเทศไทยเชื่อว่าเหลือเพียงบริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองแสง และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองยัน

3.ปลาเสือตอ

ปลาเสือตอลายใหญ่ เป็นปลาที่อยู่ในวงศ์ปลาเสือตอ มีรูปร่างแบนข้าง ปากยาว สามารถยืดหดได้ โดยพื้นลำตัวสีเหลืองน้ำตาลจนถึงสีส้มอมดำ มีแทบสีดำคาดขวางลำตัวในแนวเฉียง รวมทั้งสิ้นประมาณ 5-6 แถบ ขนาดลำตัวโตสุดประมาณ 40 เซนติเมตร หนักถึง 7 กิโลกรัม

4.ปลากระดี่มุก

ปลากระดี่มุกมีรูปร่างคล้ายปลากระดี่หม้อ ซึ่งเป็นปลาที่อยู่ในสกุลเดียวกันแต่กระดี่มุกจะมีลำตัวกว้างกว่าเล็กน้อย ครีบหลัง ครีบข้าง รวมไปถึงครีบก้นจะมีขนาดที่ใหญ่ โดยลำตัวจะมีสีเงินจาง มีแทบสีดำจางคาดยาวไปถึงโคนครีบหางและจะมีจุดกลมๆสีเงินมุกหรือสีฟ้า เหลือบกระจายไปทั่วทั้งตัว อันเป็นที่มาของชื่อกระดี่มุก

5.ปลากระทิงไฟ

Fire spiny eel ปลาน้ำจืดพื้นเมืองของไทยชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลากระทิง มีรูปร่างเหมือนปลาในวงศ์นี้ทั่วไป ก็คือรูปร่างยาวคล้ายงูหรือปลาไหล ตาท้ายลำตัวส่วนที่อยู่ค่อนไปทางหาง จะมีลักษณะแบนข้างและส่วนหัวหรือปลายปากจะยื่นยาวและแหลม จะงอยปากล่างจะยื่นยาวกว่าจะงอยปากบน ปากจะมีขนาดเล็กพวกมันจะมีหนามแหลมขนาดเล็กๆ ตลอดทั้งความยาวลำตัวช่วงบนไว้เพื่อป้องกันตัวจากนักล่า โดยมันมีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 60 เซนติเมตร พบใหญ่ที่สุดคือขนาด 1 เมตร พบได้ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สำหรับในประเทศไทย พบได้ในแหล่งน้ำขนาดใหญในภาคกลางและภาคใต้

6.ปลาทรงเครื่อง

ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีรูปร่างคล้ายปลากาดำซึ่งเป็นปลาในวงศ์และสกุลเดียวกัน แต่มีรูปร่างที่เรียวยาวมีขนาดเล็กกว่า สีลำตัวสีแดงอ่อนส่วนครีบหางสีแดงเข้ม มีขนาดโตเต็มที่ไม่เกิน 12 เซนติเมตร พบได้ในประเทศไทยเท่านั้น พบได้ที่บริเวณแม่น้ำเจ้าพระยาตอนบน ปัจจุบันเชื่อว่าสูญพันธุ์ไปแล้วจากธรรมชาติ เนื่องจากถูกคุกคามถิ่นที่อยู่อาศัย และถูกจับไปเป็นปลาส่วนงาม ซึ่งปลาที่ขายกันตามท้องตลาด เป็นปลาที่เกิดจากการผสมเทียมทั้งสิ้น

Bactocel 5001  ผลิตภัณฑ์ชีวภาพกำจัดของเสียและรักษาสภาพน้ำในบ่อปลา
แบคโตเซล 5001 คือ กลุ่มของแบคทีเรียที่มีประโยชน์ ช่วยย่อยทำลายเศษอาหารสารแขวนลอย ทั้งที่ละลายน้ำ และไม่ละลายน้ำให้สลายตัวหมดไป ตู้ปลาจะสะอาดไม่มีตะไคร่น้ำจับ สำหรับบ่อปลาจะไม่มีเน่าที่ก้นบ่อ นอกจากนั้นยังสามารถใช้ได้กับสัตว์น้ำอื่นๆ เช่น กบ,ตะพาบน้ำ, กุ้งก้ามกราม,กุ้งกุลาดำ และจระเข้ เป็นต้น

คุณสมบัติ
1.      ลดการเปลี่ยนถ่ายน้ำ
2.     รักษาความสดใสของน้ำในตู้ปลา
3.     กำจัดแอมโมเนียและไนไตร์
4.     ป้องกันโรคที่เกิดกับปลา
5.     ปลอดภัยกับคนและสัตว์เลี้ยงทุกชนิด

วิธีการใช้ 
วิธีการใช้งานสำหรับบ่อปลาขนาดเล็ก (ตู้ปลา/ อ่างปลา)
ใช้ Bactocel 5001 ในอัตรา 10 CC+ 400 ML
หากน้ำกำลังเสีย ให้ใส่ติดต่อกันทุกวัน จนกว่าน้ำจะใสสะอาด

บ่อขนาดกลาง 1 – 4 ไร่
ใช้ Bactocel 5001 ในอัตรา 200 -300 cc

  • บ่อปลาคราฟ ไม่เกิน 7 เมตร โดยประมาณ โดยใส่ทุกๆ 7 วัน
  • บ่อปลาทั่วไป (บ่อดิน) ใช้ 300 CC เทลงบ่อไม่เกิน 1 ไร่

*ขึ้นอยู่กับสภาพน้ำและปริมาณปลา

บ่อขนาดใหญ่ 5- 20 ไร่
ใช้ Bactocel 5001 อัตรา 350-500 Ccต่อบ่อ 1 ไร่ โดยใส่ทุก ๆ 10 วัน
(ถ้าน้ำเสียมากๆหรือต้องการเร่งด่วน ใส่ 5 วันครั้ง)

  • อัตรา 500-1000 Cc ต่อบ่อ 1ไร่ขึ้นไป

(ถ้าน้ำเสียมากๆหรือต้องการเร่งด่วน ใส่ 4 วันครั้ง)
** หากบ่อมีขนาดกว้างมากและน้ำเน่าเสียหนัก เช่นสระวัด บ่อน้ำขนาดใหญ่ ต้องใช้ปริมาณ 12 ขวด
ขึ้นไปจึงจะเห็นผลที่ชัดเจนขึ้นภายใน 30 วัน

คำเตือน ไม่ควรใช้กับยาฆ่าเชื้อยา)ฏิชีวนะ และสารเคมีทุกชนิดหากจำเป็นต้องใช้ยาและสารเคมีดังกล่าว ควรใช้ แบคโตเซล 5001  หลังจากใช้ยาและสารเคมี 3-5 วัน

ขนาดบรรจุ ; 300cc/1000cc/5000cc

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *