5 สัตว์สูญพันธุ์ ที่มีโอกาสกลับมาอีกครั้ง
1.หมาป่านิวกีนี Guinea highland dog
นานนับทศวรรษที่กลุ่มนักวิจัยเชื่อว่า พวกมันได้สูญพันธุ์ไปจากโลกใบนี้แล้ว ทว่าล่าสุดทีมนักสำรวจก็ต้องอึ้งไปตาม ๆ กัน หลังจากมีการค้นพบ หมาป่าสายพันธุ์จากยุคโบราณนี้อีกครั้ง มีการค้นพบและยืนยันว่า พวกมันยังมีชีวิตอยู่ เป็นครั้งแรกในรอบหลาย 10 ปี ที่ผ่านมา นอกจากจะสร้างความตื่นเต้นให้กับทีมนักสำรวจแล้ว ยังสร้างโอกาสให้นักวิทยาศาสตร์ได้รู้จักพวกมันมากขึ้นอีกด้วย หลังจากที่มีการค้นพบ ทีมนักสำรวจก็ได้เก็บตัวอย่าง DNA เพื่อทำการพิสูจน์ และก็พบว่าหมาป่านิวกีนีที่พวกเขาพบนั้น เป็นสายพันธุ์เดียวกันกับทีมนักสำรวจเคยคาดการณ์ว่า พวกมันนั้นสูญพันธุ์ไปแล้วจริงๆ นอกจากนั้น ทีมนักสำรวจยังได้ศึกษาพบว่า เดิมทีพวกมันอาศัยอยู่บนเกาะนิวกีนี มาตั้งแต่ยุคหินแล้ว ซึ่งพวกมันมีลักษณะนิสัยค่อยข้างฉลาด เป็นมิตรกับมนุษย์ จุดเด่นของมันคือเสียงหอนที่แหลมสูง จึงได้ชื่อว่า เป็น singing dog พบว่าปัจจุบันทั่วโลกมีสายพันธุ์นี้เหลือเพียงแค่ประมาณ 300 ตัว บางก็อยู่ในสวนสัตว์ บางก็อยู่ตามศูนย์อนุรักษ์ หรือบางตัวก็กลายเป็นสัตว์เลี้ยงประจำบ้าน
2.นกกะรางแก้มแดง
นกกะรางแก้มแดง มีถิ่นการกระจายพันธุ์ในประเทศ บังคลาเทศ ภูตาล อินเดีย จีน พม่า ไทย ลาวและเวียดนาม โดยพบตามป่าเขตร้อน และใกล้เขตร้อนบนเขา สำหรับประเทศไทยนั้น เป็นนกประจำถิ่นที่พบไม่บ่อยตามป่าดิบ ชายป่าที่มีความสูง 1800 เมตร จากระดับน้ำทะเลขึ้นไป สามารถพบเห็นได้ที่ดอยอินทนนท์ ดอยฟ้าห่มปก และดอยลาง แต่สำหรับเนปาลตะวันออกนั้น พวกมันไม่เคยถูกพบเห็นในเนปาลตะวันออกมาเป็นเวลากว่า 178 ปีแล้ว และคิดว่าคงสูญพันธุ์ไปแล้ว เมื่อเร็วๆนี้ ได้มีการค้นพบจากกลุ่มนักชมนก เกี่ยวกับนกทัวร์ชมนก 10 วัน วันแรกที่พบเจอแค่ 2 ตัว วันต่อมา เจอถึง 8 ตัว มีทั้งตัวผู้ตัวเมีย มากันเป็นคู่ ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีที่ทำให้เรารู้ว่า พวกมันยังไม่สูญพันธุ์ไปจากเนปาลตะวันออกเลย
3.ค้างคาวเล็กสีน้ำตาล little brown bat
ค้างคาวสีน้ำตาลขนาดเล็ก ของรัฐ new York ที่เกือบสูญพันธุ์ กำลังกลับมาอีกครั้ง ในช่วงปีที่ผ่านมา ในขณะที่ค้างคาวจำศีล โรคเชื้อรา whie nose syndrome WNS ที่สามารถแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วในถ้ำ และเหมืองหลายพันแห่ง ทั่วทวีปอเมริกาเหนือ ก็แพร่ระบาดจากเขตปกครองนึงในรัฐ new York ไปยัง 30 รัฐ ทั่วสหรัฐอเมริกา และ 5 จังหวัดในแคนาดา ทำให้ค้างคาวตายลงแล้ว 10 ล้านตัว เชื้อราที่ติดอยู่กับตัวค้างคาว ค่อยๆทำให้พวกมันอ่อนแรง และเชื้อราพวกนี้จะกัดกินผิวหนังของค้างคาวทีละเล็กทีละน้อย ทำให้ค้างคาวขาดน้ำ ค้างคาวที่ตื่นกลางคันนี้จะตายจากความหิวโหยและความอ่อนล้า โดยเชื้อราจะเติบโตรอบๆ จมูก ปาก และปีก กลายเป็นที่รู้จักกันในชื่อโรค จมูกขาว หากเป็นแบบนี้ต่อไปอย่างต่อเนื่องในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า 90% ของค้างคาวสีน้ำตาล จะตายเพราะโรคจมูกขาว แต่ทว่าอัตราการรอดชีวิตกำลังกลับมาค่อยๆสู่ภาวะปกติ โดยทีมวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบเชื้อแบคทีเรียที่สามารถใช้ควบคุมโรคเชื้อรานี้ได้ตามธรรมชาติ หวังว่า 30-40 ปีข้างหน้า จำนวนของพวกมันจะกลับไปเท่าก่อนที่โรคจมูกขาวจะระบาดได้
4.โลมาแม่น้ำแยงซี
หรือที่เรียกว่า โลมาแม่น้ำจีน อาศัยอยู่ในแม่น้ำแยงซีตอนกลาง และตอนล่างของประเทศจีน รวมถึงแม่น้ำเซียนถัง ที่อยู่ในแถบบริเวณดังกล่าว ชาวจีนจะเรียกว่า เทพีแห่งสายน้ำ เนื่องจากมีลำตัวสีขาวบริสุทธิ์ ค้นพบเห็นครั้งสุดท้ายเมื่อปี 2006 หลังจากนั้นก็ไม่มีใครพบเห็น เทพีแห่งสายน้ำ นี้อีกเลย โดยโลมาแม่น้ำแยงซี ถูกขึ้นทะเบียนให้สูญพันธุ์ในปีดังกล่าว จนกระทั่งปี 2016 นักอนุรักษ์ชาวจีนคนนึงกล่าวว่า พบเห็นโลมาแม่น้ำแยงซี หลังจากสูญพันธุ์ไปแล้วหลังจาก 10 ปี เขาได้กล่าวเพิ่มเติมว่า “ไม่มีสิ่งมีชีวิตไหน ที่จะกระโดดได้ในแม่น้ำแยงซีได้ในแบบนั้น” โดยชาวประมงในพื้นที่ก็ได้ยืนยันเป็นเสียงเดียวกันอีกด้วย และสิ่งที่เขาพบเห็นนั้นยังไม่มีน้ำหนักมากพอว่าจะเป็นโลมาชนิดนี้ แต่ถ้าทั้งหมดเป็นเรื่องจริง ก็อาจทำให้ความหวังในการฟื้นคืน เทพีแห่งสายน้ำ กลับคืนมาอีกครั้ง หลังจากที่ไม่มีคนพบเห็นอีกเลยในช่วงปี 2006 โดยก่อนหน้านั้นประชากรโลมาแม่น้ำแยงซี ลดลงอย่างหนักในช่วงปี 1990-1999 พบว่ามีประชากรในธรรมชาติเหลืออยู่เพียงไม่ถึง 50 ตัวเท่านั้น สาเหตุเกิดจากผลกระทบจากการทำเขื่อน และการทำประมง ไปจนถึงปัญหามลภาวะ สารเคมีจากโรงงานที่ชะล้างลงสู่แม่น้ำแยงซี
5.เสือโคร่งอินโดจีน
เสือโคร่งอินโดจีน ได้สูญพันธ์ไปแล้วจากหลายๆประเทศทั้ง จีน ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย ตอนนี้ประชากรของพวกมันเหลือเพียงน้อยนิดในไทยและพม่า สถานะของเสือโคร่งอินโดจีนในธรรมชาติในประเทศไทย เหลือเพียง 2 ที่ คือป่าเขาใหญ่และป่าพื้นภาคตะวันตกซึ่งติดกับชายแดนพม่าเท่านั้น จากการศึกษาพบว่า เสือโคร่งอินโดจีนที่พบในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ทุ่งใหญ่ ห้วยขาแข็ง มีพฤติกรรมล่าเหยื่อสัตว์จำพวกวัวแดง ตอนนี้มีการประมาณการว่ามีประชากร เสือในโลกประมาณ 3900 ตัว เทียบจากเมื่อ 100 ปีก่อน ที่มีเสืออยู่ประมาณกว่า 1 แสนตัว ซึ่งส่วนมากอาศัยอยู่ในประเทศ อินเดีย ส่วนในไทยนั้น คาดการณ์ว่ามีเสืออยู่ประมาณ 160 ตัว สาเหตุหลักที่ประชากรเสือน้อยลงนั้น มาจากการล่าสัตว์ การค้าสัตว์ป่า และการทำลายถิ่นที่อยู่อาศัยของพวกมัน ซึ่งประเทศไทยเป็นพื้นที่สำคัญอย่างยิ่ง ต่อประชากรเสือและการอนุรักษ์เสือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเสือโคร่งอินโดจีน ซึ่งถือว่าประเทศไทยเป็นป้อมปราการสุดท้ายของความหวังในการฟื้นฟูเสือสายพันธุ์นี้

Bactocel 4001 ผลิตภัณฑ์ชีวภาพกำจัดกลิ่นเหม็นและของเสียในคอกสัตว์
แบคโตเซล 4001 คือ กลุ่มของแบคทีเรียที่มีประโยชน์ สามารถช่วยย่อยสลายสิ่งปฏิกูลและเศษอาหารที่เหลือตกค้างในคอกสัตว์ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดกลิ่นเหม็นช่วยป้องกันโรคต่างๆ ที่เกิดกับสัตว์เลี้ยง ตลอดจนปัญหาแมลงวันรบกวนจะหมดไปรวมถึงช่วยแก้ปัญหาเกี่ยวกับมลภาวะต่างๆ ที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญภานในฟาร์ม และชุมชนให้หมดไป
คุณสมบัติ
1. ย่อยสลายสิ่งปฏิกูลและเศษอาหารที่เหลือตกค้างในคอกสัตว์ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดกลิ่นเหม็นช่วยป้องกันโรคต่าง ๆเกิดกับสัตว์เลี้ยง
วิธีการใช้
1. คอกหมู : ใช้ แบคโตเซล 4001 ในอัตรา 100 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วพื้นที่คอก สัปดาห์ละครั้ง ทำให้คอกสัตว์สะอาด ปราศจากกลิ่นเหม็นและแมลงวัน อีกทั้งสามารถป้องกันโรคต่างๆได้ หากหมูเป็นโรคปากเท้าเปื่อย ให้ใช้ แบคโตเซล 4001 ผสมน้ำฉีดพ่นให้ทั่วตัว และบริเวณกีบเท้า อาการจะค่อยๆ ทุเลาลง
2. คอกวัว : ใช้แบคโตเซล 4001 ในอัตราเดียวกันฉีดพ่นให้ทั่วพื้นที่คอกกลิ่นเหม็นและแมลงวันจะลดลงและหมดไปในที่สุด อีกทั้งช่วยป้องกันโรคกีบเท้าเปื่อยในวัวเนื้อและวัวนมอีกด้วย
3. ฟาร์มไก่ : ใช้แบคโตเซล 4001 ในอัตราเดียวกัน ฉีดพ่นให้ทั่วพื้นที่บริเวณใต้เล้าไก่และที่รองรับมูลไก่ สำหรับไก่ไข่ จะสามารถกำจัดแก๊สไข่เน่า แก๊สแอมโมเนีย ซึ่งเป็นสาเหตที่ทำให้ไก่เป็นโรคตาอักเสบและโรคระบบทางเดินหายใจ ซึ่งทำให้ไก่ไข่น้อยลง เปลือกไข่บางมีเปอร์เซ็นต์ไข่ร้าวและแตกสูง
ขนาดบรรจุ ; 300cc/1000cc/5000cc