โรคใบไหม้ยอดฮิต ในหมู่มะเขือเทศ

โรคใบไหม้ โรคยอดฮิตในมะเขือเทศ

แนะวิธีป้องกัน “โรคใบไหม้” โรคยอดฮิตในมะเขือเทศ อาการของโรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับพืช รวมทั้งแมลงศัตรูพืชที่เข้ามาทำลายได้นั้น ต้นเหตุที่แท้จริงคือ พืชชนิดนั้นได้รับสารอาหารที่เป็น ธาตุหลัก ธาตุรอง และธาตุเสริมที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช ทำให้ต้นพืชไม่มีภูมิต้านทานต่อโรคและแมลง จึงเป็นสาเหตุให้เกิดโรคพืชและเชื้อโรคที่รุนแรงมาติดกลับแปลงพืชของเราหรือบางครั้งก็ติดมากับแมลง ซึ่งหนึ่งในโรคที่พบในพืชนั้นคือ “โรคใบไหม้” นั่นเอง

ลักษณะอาการของโรคใบไหม้มะเขือเทศ

การเกิดโรคสามารถเกิดได้ในทุกระยะการเจริญเติบโตของมะเขือเทศ ต้นอ่อนที่งอกจากเมล็ดที่มีเชื้อเกาะติดมาจะเกิดอาการคล้าย damping-off โดยเชื้อจะเข้าทําลายส่วนของลําต้นบริเวณโคนเกิดเป็นแผลยาวสีดําจมยุบตัวลงไปจากผิวปกติเล็กน้อย โดยแผลเหล่านี้อาจเกิดเพียง ๑ หรือ ๒ แผล ขึ้นอยู่กับปริมาณและความรุนแรงของเชื้อ ทําให้ต้นกล้าหักล้มแห้งตายหรือไม่ก็ชะงักการเจริญเติบโต
ในต้นโตอาการจะเกิดขึ้นได้ทั้งที่ใบ ต้น และกิ่งก้าน บนใบอาการจะเริ่มจากจุดแผลสีนํ้าตาลเข้มเล็กๆ อาจกลมหรือเป็นเหลี่ยมขนาดตั้งแต่ ๒ – ๔ มม. แผลจะมีลักษณะเป็นแอ่งจมยุบลงไปจากผิวปกติเล็กน้อยส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นที่ใบแก่ก่อน แผลเหล่านี้จะขยายโตขึ้นอย่างรวดเร็วเป็นแผลแห้งสีน้ำตาลอาจมีขนาดใหญ่ ๑ -๒ ซม. พร้อมทั้งมีจุดสีดําเล็กๆ เกิดเป็นวงกลมเรียงซ้อนกันเป็นชั้นๆ โดยมีจุดศูนย์กลางร่วมกัน (concentric ring)

ต่อมาอาการจะพัฒนารุนแรงจนแสดงอาการใบไหม้แล้วแห้งตาย ส่วนบนต้น กิ่งก้าน หรือก้านใบแผลจะมีลักษณะเช่นเดียวกับต้นกล้า แต่จะมีขนาดใหญ่กว่า และเมื่อเป็นรอบต้นหรือกิ่งจะทําให้ต้นหรือกิ่งดังกล่าวหักพับลงกิ่ง หรือต้นที่ล้มหรือหักพับลงนี้หากส่วนของใบที่มีอยู่ยังไม่ตาย หากโน้มกิ่งดังกล่าวลงมาให้แตะกับผิวดินแล้วใช้ดินอีกส่วนหนึ่งกลบทับส่วนของกิ่งให้เหนือแผลขึ้นมาเล็กน้อย ปล่อยทิ้งไว้ประมาณ ๑ – ๒ สัปดาห์จะมีการสร้างรากใหม่ขึ้นทําหน้าที่ดูดน้ำอาหารขึ้นตรงส่วนที่ดิบกลบทับอยู่ทําให้เจริญงอกงามต่อไปได้อีก ในต้นที่กําลังให้ดอกหากเกิดโรคขึ้นส่วนของดอกอาจจะถูกเชื้อทําลายได้ ทําให้ดอกร่วงไม่ติดผล

สาเหตุหลักที่พบ

  1. แสงแดดหรืออากาศที่ร้อนจัดเกินไป

มีพืชบางชนิด ที่ไม่สามารถทนความร้อนจากแสงอาทิตย์ได้ เช่น พวกพืชอวบน้ำ ใบหนา เมื่อมีหยดน้ำเกาะติดบนใบ พืชและถูกแสงอาทิตย์ส่องนานๆ จะทำให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้นถูกทำลายเป็นเซลล์ตาย สีน้ำตาลหรือสีดำ และอ่อนแอต่อ การเข้าทำลายของเชื้อโรคอื่นๆ เช่น เชื้อรา เชื้อบัคเตรี ฯลฯ นอกจากนี้ในโรงเรือนที่อบ หรือการขนส่งจำนวนมากๆ ในสภาพอากาศร้อนจัด มักทำให้พืชได้รับการกระทบกระเทือนมีอาการตายนิ่ง สลัดใบทิ้ง ทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต หรืออาจถึงแห้งตายมักเกิดขึ้นกับพืชทุกชนิด

  1. ความชื้นมากหรือน้อยเกินไป

ความชื้นเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่ง ในการเจริญเติบโตของพืช แต่ถ้าความชื้นมากเกินไป ก็มักจะช่วยส่งเสริมการเกิด โรคได้มากขึ้น เช่น การบรรจุไม้ตัดดอกส่งต่างประเทศ จะต้องมีกรรมวิธีการบรรจุที่ถูกต้อง ช่อไม้ดอกจะต้องแห้ง ปราศจากหยดน้ำบริเวณกลีบดอก ทั้งนี้เพื่อลดปัญหาดอกเน่า จากการเข้าทำลายของเชื้อบางชนิด ในขณะที่มีการขนส่งไปยังตลาดในระยะทางไกลๆ หรือหากปลูกพืชแช่อยู่ในดิน หรือบริเวณที่ปลูกที่น้ าขัง การระบายน้ำไม่ดี ก็มักจะทำให้ระบบรากเน่า หรือเชื้อโรคในดินเข้าท าลายระบบรากได้ง่าย แต่ถ้าความชื้นน้อยเกินไป ก็จะมีผลโดยตรงกับการเจริญของพืช ต้นพืชจะเหี่ยวเฉา และโตช้า

ฤดูการที่พบโรคใบไหม้

  • อากาศชื้น ท้องฟ้ามีเมฆมาก
  • มีฝนตกชุก และฝนตกปรอยๆ

วิธีป้องกันโรคใบไหม้มะเขือเทศ

  • เกษตรกรต้องหมั่นตรวจดูข้าวโพดในแปลงตั้งแต่ยังเล็ก หากพบว่ามีต้นที่เป็นโรคให้รีบถอนออก รวมทั้งกำจัดเศษซากพืชออกไปนอกแปลง และป้องกันไม่ให้มีแหล่งสะสมเชื้อในบริเวณใกล้เคียง
  • มีการเขตกรรมที่ดี หมั่นกำจัดวัชพืช ซึ่งจะเป็นการลดปริมาณเชื้อโรคลงได้ ไม่ควรปลูกข้าวโพดภายใต้ร่มเงาของไม้ยืนต้น เนื่องจากมีร่มเงาทำให้อากาศไม่ร้อนจัดและส่งเสริมให้เกิดโรคมากขึ้น
  • ใช้สารเคมีฉีดพ่นบนใบ แบบสัมผัส เช่น แมนโคเซบ (Mancozeb) โพรพีเนบ (Propineb) โปรปิโคนาโซล (Propiconazole) ซึ่งฉีดพ่นได้ทุกระยะการเจริญของพืช อีกจำพวกหนึ่งเป็นแบบดูดซึม เช่น อะซ็อกซี่สโตรบิน (Azoxystrobin) ชื่อการค้าคือ อมิสตา (Amistar) แต่มีความเสี่ยงในการเกิดเชื้อดื้อยา นอกจากนี้ยังมียาที่เป็นสารผสม ของโปรปิโคนาโซล และ ไดฟิโคนาโซล ชื่อการค้า คือ อะมูเล (Amule) แต่ไม่ควรฉีดพ่นซ้ำเกิน 2 ครั้ง เพราะอาจทำให้เชื้อดื้อยา

ไบโอนิค ไตโค
ไตรโคเดอร์ม่า

สรรพคุณ ไตรโคเดอร์ม่า ป้องกันโรคพืชช่วยกระตุ้นให้พืชสร้างภูมิคุ้มกัน มีความต้านทานต่อโรคพืชควบคุมและป้องกันเชื้อราสาเหตุโรคพืช เหมาะสำหรับไม้ยืนต้น ไม้ผล พืชไร่ พืชสวน เช่นยางพารา กาแฟ ปาล์มน้ำมัน ทุเรียน มะม่วง ลิ้นจี่ มังคุด มะนาว มะเขือเทศ ลองกอง พริก คะน้า ผักกาด ผักออร์แกนิก ข้าวพันธุ์ต่าง ๆ

คุณสมบัติ
1.ฉีดพ่นผสมไบโอนิค ไตโค 1 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 1 ลิตร หรือ 1 กิโลกรัมต่อน้ำ 100 ลิตรสำหรับฉีดพ่นบริเวณลำต้นและโคนราก ควรฉีดพ่นทุก ๆ 5 วัน
2.ทารอยแผล ผสมไบโอนิค ไตโค 1-2 ช้อนชาต่อน้ำ 10 มล(1/4ของแก้ว) หรือ 1 กิโลกรัม ต่อน้ำ 10 ลิตรสำหรับทาบริเวณรอยแผลบนลำต้น ควรใช้ซ้ำทุก 5 วัน
3.คลุกเมล็ดพันธุ์ ผสมไบโอนิคไตโค 1 -2 ช้อนชา ต่อน้ำ10 มล สำหรับ 15-20 เมล็ด หรืออัตราส่วน 1 กิโลกรัม ต่อน้ำ 1 ลิตรสำหรับเมล็ดพันธุ์ 10 กิโลกรัม
4.ระบบไฮโดรโปนิกส์ ใช้ไบโอนิค ไตโค อัตราส่วน 100 กรัม ช้อนชาต่อน้ำ 100 ลิตร ควรเติมทุก 5-7 วัน

วิธีใช้
ผสมไบโอนิค ไตโคร 2.5 กรัม ต่อน้ำ 1 ลิตร สำหรับการฉีดพ่น (ควรฉีดพ่นทุกๆ 5 วัน) และผสมไบโอนิค ไตรโคร 100 กรัมต่อน้ำ 1ลิตร สำหรับการรักษารอยแผล (ควรฉีดพ่นทุกๆ 5 วัน)

ชนิด ซองขนาด 100 / 500 กรัม

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *