เรื่องของไก่ รู้หรือยัง?

เรื่องของไก่ รู้หรือยัง?

นับเป็นเวลาหลายพันปีมาแล้วที่มนุษย์ได้จับ ไก่ป่าเพื่อนำมาเลี้ยงเป็น ไก่บ้าน ในประเทศจีนมีการเลี้ยงไก่กันมาประมาณกว่า 3,000 ปี ไก่ที่เลี้ยง ณ กรุงบาบิโลน ได้ถูกนำไปจากอินเดียเมื่อ 2,500 ปี หลังจากนั้นอีกราว 100 ปี ต่อมาก็ขยายพันธุ์ไปที่ประเทศกรีซ ที่กรุงโรมพบว่ามีการเลี้ยงไก่มาตั้งแต่ก่อนคริสต์ศตวรรษ แต่การเลี้ยงไก่กันอย่างจริงจังนั้นเริ่มมาเมื่อประมาณกว่า 100 ปีนี้เอง และสิ่งที่ช่วยให้การเลี้ยงไก่แพร่หลายในอดีต ก็คือ การชนไก่ ซึ่งเป็นได้ทั้งเกมกีฬาและการพนัน ที่นับว่าเป็นสิ่งจูงใจของนักเลี้ยงไก่ทั่วไป ต่อมามนุษย์มีความต้องการอาหารเพิ่มมากขึ้น เนื้อและไข่ของไก่ซึ่งมีรสชาติอร่อย ให้คุณค่าทางอาหารสูงจึงได้รับความนิยมเป็นอย่างยิ่ง ทำให้มีการพัฒนาสายพันธุ์ไก่เรื่อยมา จนกระทั่งมีการเลี้ยงขยายพันธุ์ไปทั่วโลก

ไก่ป่า ( Jungle fowl ) 

        ไก่ป่า มีลักษณะสำคัญที่ผิดกับนกชนิดอื่นๆ คือ บนหัวมีหงอนที่มีลักษณะเป็นเนื้อไม่ใช่หงอนที่เป็นขน มีเหนียงสองข้างห้อยลงมาที่โคนปากและคาง ที่บริเวณหน้าและคอนั้นมีลักษณะเป็นหนังเกลี้ยงๆ ไม่มีขน ส่วนขนตามตัวทั่วๆ ไปมีสีสันสวยงาม ขนหางตั้งเรียงกันเป็นสันสูงตรงกลาง มีขนหาง 14 – 16 เส้น 
เส้นกลางยาวปลายแหลมและอ่อนโค้ง แข้งมีเดือยข้างละอันเป็นอาวุธ ตัวเมียมีขนาดเล็กกว่าตัวผู้และสีขนไม่ฉูดฉาดสวยงามเท่าตัวผู้ แข้งไม่มีเดือย หงอนและเหนียงมีขนาดเล็กมาก จนกระทั่งบางตัวแทบจะไม่มี ไก่ป่า มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเทือกเขาหิมาลัย ตลอดไปจนถึงประเทศจีน เกาะไหหลำ อินเดีย พม่า ไทย ลาว เขมร เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ไก่ป่า เป็นบรรพบุรุษของ ไก่บ้าน แตกต่างกันตรงที่ไก่ป่า มีขาเป็นสีเทาและตรงบริเวณโคนหางมีสีขาวเห็นเด่นชัด

        ในอดีต ตั้งแต่สมัยก่อนกรุงสุโขทัยเป็นต้นมา จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศไทยยังมีป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์และมีสัตว์ป่ามากมายหลายประเภท โดยเฉพาะนกชนิดต่างๆ การล่านกเพื่อเป็นอาหารนับว่าเป็นเรื่องปกติของชาวบ้านทั่วๆไป และถือว่าเป็นอาชีพอย่างหนึ่ง ทำให้นกหลายชนิดต้องสูญพันธุ์ไปอย่างน่าเสียดาย ในจำนวนนกที่ถูกล่าเพื่อเป็นอาหารนั้น ไก่ป่า ซึ่งเป็นนกประเภทหนึ่งที่มีอยู่อย่างชุกชุมถูกล่ามากที่สุด เนื่องจากว่าเนื้อมีรสอร่อย ถ้าไม่สังเกตให้ดี ไก่ป่า จะไม่มีความแตกต่างจาก ไก่บ้าน มากนัก เนื่องจากว่า ไก่บ้าน สืบสายพันธุ์มาจาก ไก่ป่า โดยมนุษย์ได้นำ ไก่ป่า มาเลี้ยงไว้เพื่อเป็นสัตว์ในครัวเรือนเป็นเวลานานกว่า 4,400 ปี นอกจากจะเรียกนกชนิดนี้ว่า ไก่ป่า แล้ว บางครั้งยังเรียกว่า ไก่เถื่อน อีกด้วย ปัจจุบันไก่ป่าเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองประเภทที่ 2

        ถึงแม้ว่า ไก่ป่า จะถูกตามล่าอยู่เป็นประจำ แต่เนื่องจาก ไก่ป่า มีการขยายพันธุ์อย่างรวดเร็ว จำนวนของ ไก่ป่า ตามธรรมชาติจึงคงมีเหลืออยู่อีกเป็นจำนวนมาก และจัดเป็นนกประจำถิ่นที่พบได้ทั่วทุกภาค ตั้งแต่บนที่ราบต่ำ จนถึงระดับความสูง 1,800 เมตร ในต่างประเทศเคยพบที่ระดับความสูง 2,000 เมตร ซึ่งนับว่าสูงมากทีเดียว

ไก่ป่าดั้งเดิมมีอยู่ 4 ประเภท คือ

1. ไก่ป่าไทย

หรือ Red Jungle fowl ตัวผู้มีลักษณะที่สำคัญ คือ หน้าอกและใต้ท้องมีสีดำ ตัวเมียหน้าอกสีน้ำตาลแกมแดง บนหลังมีลายเลือนๆไม่ชัดเจน พบในเอเซีย เช่น อินเดีย พม่า ไทย อินโดนีเซีย
สำหรับ ไก่ป่าไทย ในประเทศไทยแยกออกเป็นชนิดย่อยอีก 2 ชนิด คือ
– ไก่ป่าตุ้มหูขาวหรือไก่ป่าอีสาน
– ไก่ป่าตุ้มหูแดงหรือไก่ป่าพันธุ์พม่า


2. ไก่ป่าลังกา

หรือ La Fayette’s Jungle fowl ตัวผู้มีสีแดงแทบจะทั้งตัว หน้าอกและใต้ท้องก็เป็นสีแดง ผิดกับไก่ป่าไทยซึ่งหน้าอกและใต้ท้องมีสีดำ ปลายปีกและหางสีดำแกมม่วง ตุ้มหูขาว ตัวเมียหน้าอกเป็นลายเลือนๆสีน้ำตาล ปลายปีกและหางมีลายขวาง มีเฉพาะในเกาะลังกา


3. ไก่ป่าอินเดีย

หรือ Sonnerat’s Jungle fowl ตัวผู้ขนสร้อยคอกลมมนและมีจุดขาวๆ บนหลัง หน้าอกและใต้ท้องเป็นสีเทามีลายตามขอบขนดำๆ ปลายปีกและหางดำแกมเขียว แข้งสีดำ ตุ้มหูแดง ตัวเมียหน้าอกขาวลายขอบขนดำ ปีกและหางมีลายเลือนๆมีในภาคกลางและภาคใต้ของอินเดีย


4. ไก่ป่าชวา

หรือ Green Jungle fowl ตัวผู้ขนสร้อยคอสั้นและกลมมนสีเขียว ตัวเมียหน้าอกสีน้ำตาลคล้ำ ส่วนบนของลำตัวมีลายดำทั่วไป มีในเกาะชวาและหมู่เกาะเล็กๆทางทิศตะวันออก

        จาก ไก่ป่า ได้พัฒนาเรื่อยมาจนกระทั่งกลายเป็น ไก่อู ซึงเป็นต้นตระกูลของ ไก่ชน ในระยะเริ่มแรก ไก่อู มีหลายสี รูปร่างมีขนาดใหญ่แต่ปราดเปรียว ไข่ดกและมีเนื้อมาก เมื่อถูกนำมาเป็น ไก่ชน จะมีความทรหดอดทน แข็งแรง และมีความทนทานในการต่อสู้

Bactocel 4001  ผลิตภัณฑ์ชีวภาพกำจัดกลิ่นเหม็นและของเสียในคอกสัตว์

แบคโตเซล 4001 คือ กลุ่มของแบคทีเรียที่มีประโยชน์ สามารถช่วยย่อยสลายสิ่งปฏิกูลและเศษอาหารที่เหลือตกค้างในคอกสัตว์ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดกลิ่นเหม็นช่วยป้องกันโรคต่างๆ ที่เกิดกับสัตว์เลี้ยง ตลอดจนปัญหาแมลงวันรบกวนจะหมดไปรวมถึงช่วยแก้ปัญหาเกี่ยวกับมลภาวะต่างๆ ที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญภานในฟาร์ม และชุมชนให้หมดไป

คุณสมบัติ
1.ย่อยสลายสิ่งปฏิกูลและเศษอาหารที่เหลือตกค้างในคอกสัตว์ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดกลิ่นเหม็นช่วยป้องกันโรคต่าง ๆเกิดกับสัตว์เลี้ยง

วิธีการใช้
1. คอกหมู : ใช้ แบคโตเซล 4001 ในอัตรา 100 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วพื้นที่คอก สัปดาห์ละครั้ง ทำให้คอกสัตว์สะอาด ปราศจากกลิ่นเหม็นและแมลงวัน อีกทั้งสามารถป้องกันโรคต่างๆได้ หากหมูเป็นโรคปากเท้าเปื่อย ให้ใช้ แบคโตเซล 4001 ผสมน้ำฉีดพ่นให้ทั่วตัว และบริเวณกีบเท้า อาการจะค่อยๆ ทุเลาลง
2. คอกวัว : ใช้แบคโตเซล 4001 ในอัตราเดียวกันฉีดพ่นให้ทั่วพื้นที่คอกกลิ่นเหม็นและแมลงวันจะลดลงและหมดไปในที่สุด อีกทั้งช่วยป้องกันโรคกีบเท้าเปื่อยในวัวเนื้อและวัวนมอีกด้วย
3. ฟาร์มไก่ : ใช้แบคโตเซล 4001 ในอัตราเดียวกัน ฉีดพ่นให้ทั่วพื้นที่บริเวณใต้เล้าไก่และที่รองรับมูลไก่ สำหรับไก่ไข่ จะสามารถกำจัดแก๊สไข่เน่า แก๊สแอมโมเนีย ซึ่งเป็นสาเหตที่ทำให้ไก่เป็นโรคตาอักเสบและโรคระบบทางเดินหายใจ ซึ่งทำให้ไก่ไข่น้อยลง เปลือกไข่บางมีเปอร์เซ็นต์ไข่ร้าวและแตกสูง

ขนาดบรรจุ ; 300cc/1000cc/5000cc

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *