หามุมหลบให้ดี ก่อนเจอพิษร้ายใต้ทะเล

หลบให้ดีก่อนจะเจอพิษร้ายใต้ทะเล

ร้อนนี้ใครๆ ก็ไปทะเล เดินชิลล์ริมชายหาด ดำน้ำดูปะการัง แต่การไปเที่ยวตามทะเลหรือชายหาดนั้นต้องระวังเรื่องสัตว์ทะเลมีพิษด้วยค่ะ เพราะหากเราไปเดินหรือดำน้ำในที่ที่มีสัตว์เหล่านั้นชุกชุม และถูกกัด ต่อย สัมผัสโดนจนเกิดแผลหรือเจ็บปวด หรือเผลอกินสัตว์มีพิษเข้าไป ก็อาจทำให้ทริปนี้หมดสนุกได้ วันนี้เราจึงพาไปรู้จักกับสัตว์ทะเลมีพิษและวิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น เพื่อป้องกันและรับมือกับอันตรายเมื่อไปเที่ยวทะเลค่ะ

ขนนกทะเล (Sea Feather)

ขนนกทะเลเป็นสัตว์ที่มีลักษณะคล้ายพืช อาศัยอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม มีหลายชนิด บางชนิดมีลักษณะคล้ายขนนกและบางชนิดมีลักษณะคล้ายเฟิร์น มักจะพบตามแนวปะการังเกาะกับหลักที่ปักอยู่ริมชายฝั่ง เสาสะพานท่าเรือ รวมถึงเศษวัสดุที่ลอยในทะเล หากผิวสัมผัสกับขนนกทะเล จะทำให้ถูกพิษของมันแทรกเข้าสู่ผิวหนังได้ ทำให้เกิดอาการคัน ปวดแสบปวดร้อน

การป้องกันและรักษา : หลีกเลี่ยงการสัมผัสขนนกทะเลโดยตรง หากถูกพิษให้ล้างผิวบริเวณนั้นด้วยแอลกอฮอล์ แล้วประคบด้วยน้ำแข็งหรือน้ำเย็น หากมีอาการรุนแรงต้องรีบส่งแพทย์ทันที

ปะการังไฟ (Fire Coral)

ปะการังไฟนั้นไม่ใช้ปะการังแท้จริง แต่เป็นสัตว์ทะเลจำพวกเดียวกับขนนกทะเลและมีพิษเช่นเดียวกัน ปะการังไฟมีรูปร่าง 3 แบบคือ แบบแผ่น แบบก้อน และแบบแขนง โดยทั่วไปมักมีสีเหลืองอ่อนหรือน้ำตาล พบปะปนอยู่กับสัตว์อื่นในแนวปะการังทั่วไป หากสัมผัสกับปะการังไฟ จะทำให้เกิดรอยไหม้ บวมแดง และปวดแสบปวดร้อนบริเวณผิวหนังที่สัมผัส

การรักษา : ให้ล้างแผลด้วยน้ำส้มสายชูหรือล้างด้วยอะลูมิเนียมซัลเฟตอีกครั้งหนึ่ง หากส่วนที่สัมผัสปะการังเป็นมือ ห้ามนำมาเช็ดหน้าหรือเข้าตาโดยเด็ดขาด เพราะพิษจากปะการังไฟที่ยังเหลืออยู่ จะทำให้เกิดการระคายเคืองได้

แมงกะพรุน (Jelly Fish)

แมงกะพรุนทั่วไปมีรูปร่างคล้ายร่มหรือกระดิ่งคว่ำ ลำตัวโปร่งแสง บริเวณหนวดและแขนงที่ยื่นออกมารอบปากมีเข็มพิษ ที่ใช้ฆ่าเหยื่อหรือทำให้เหยื่อสบลก่อนจับกินเป็นอาหาร พิษของแมงกะพรุนจะทำให้เกิดอาการคัน เป็นผื่นบวมแดงและเป็นรอยไหม้ปวดแสบปวดร้อน ทำให้เกิดแผลเรื้อรังได้ แมงกะพรุนบางชนิดทำให้เกิดอาหารจุก หายใจไม่ออก แน่นหน้าอก อ่อนเพลีย เป็นไข้ บางรายถึงขั้นเสียชีวิต

การป้องกันและรักษา : หลีกเลี่ยงการลงเล่นน้ำทะเลบริเวณที่มีแมงกะพรุนชุกชุม หรือช่วงหลังพายุฝน เพราะจะมีกะเปาะพิษของแมงกะพรุนหลุดลอยไปในน้ำทะเล หากถูกพิษของแมงกะพรุนไฟให้ใช้น้ำส้มสายชูล้างแผล หลังจากนั้นควรรีบไปพบแพทย์ นอกจากนี้อีกตำราที่มักใช้กันคือ นำผักบุ้งทะเลบดแล้วพอกตรงบริวเณที่สัมผัสแมงกะพรุน จะช่วยให้อาการต่างๆ บรรเทาลงได้

บุ้งทะเล (Fire worms)

บุ้งทะเลเป็นหนอนปล้องจำพวกเดียวกับแม่เพรียงหรือไว้เดือนทะเล แต่มีลำตัวสั้นกว่า ลำตัวของบุ้งทะเลมีขนยาวมาก ขนบุ้งเป็นเส้นแข็งและสามารถหลุดจากตัวบุ้งได้ง่าย สามารถแทงเข้าสู่ผิวหนัง ทำให้เกิดอาการคันได้

การป้องกันและการรักษา : ระมักระวังไม่ให้บุ้งทะเลสัมผัสกับผิวหนัง ไม่ใช้มือเปล่าหยิบจับบุ้งทะเล หากสัมผัสโดนบุ้งทะเล ให้หยิบขนบุ้งออกให้หมด แล้วใช้ครีมหรือคาลาไมน์ ทาเพื่อบรรเทาอาการคันและป้องกันการติดเชื้อที่อาจเกิดตามมาได้

แมงดาทะเล (Horse-shoe crab)

แมงดาทะเลที่พบในทะเลไทยมีอยู่ 2 ชนิด คือ แมงดาจานหรือแมงดาหางเหลี่ยม และ แมงดาถ้วยหรือแมงดาหางกลม ทั้ง 2 ชนิดอยู่ต่างที่กัน แมงดาจานจะอาศัยอยู่ตามพื้นทะเล วางไข่ตามริมชายหาดที่เป็นดินทราย ส่วนแมงดาถ้วยอาศัยตามพื้นทะเลที่เป็นดินโคลนและตามลำคลองในป่าชายเลน การทานแมงดาทะเลที่มีพิษ แม้ว่าจะปรุงไข่หรือเนื้อให้สุกแล้ว แต้ก็ยังเป็นอันตรายได้ โดยพิษของแมงดาจะทำให้เกิดอาการมึนงง ปวดศรีษะ คลื่นไส้ อาเจียน หัวใจเต้นเร็ว ปากชาพูดไม่ได้ แขนขาอ่อนเปลี้ย กล้ามเนื้อไม่ทำงาน หมดความรู้สึกและอาจเสียชีวิตได้

การรักษา : หากทานแมงดาทะเลมีพิษเข้าไป ต้องทำการล้างท้อง ให้อาเจียน และรีบนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด

ดอกไม้ทะเล (Sea anemone)

ดอกไม้ทะเลเป็นสัตว์ที่มีลำตัวอ่อนนุ่ม มีหนวดเรียงรายอยู่รอบปาก ด้านล่างเป็นฐานยึดเกาะอยู่กับก้อนหิน ก้อนปะการัง หรือฝังตัวลงในพื้นทะเลบริเวณดินเลนหรือดินทราย หากเผลอไปสัมผัสกับหนวดของดอกไม้ทะเลซึ่งมีพืษ จะทำเกิดผื่นแดง ถ้าอาการรุนแรงมากจะทำให้บวมแดง มึนงง คลื่นไส้ อาเจียน ซึ่งจะขึ้นอยู่กับภูมิต้านทานของแต่ละคน

การรักษา : ให้ใช้น้ำส้มสายชูล้างแผล พยายามเอาเมือกและชิ้นส่วนของหนวดดอกไม้ทะเลออกให้หมด ถ้ามีอาการทรุดให้รีบนำส่งแพทย์โดยด่วน

Bactocel 5001  ผลิตภัณฑ์ชีวภาพกำจัดของเสียและรักษาสภาพน้ำในบ่อปลา
แบคโตเซล 5001 คือ กลุ่มของแบคทีเรียที่มีประโยชน์ ช่วยย่อยทำลายเศษอาหารสารแขวนลอย ทั้งที่ละลายน้ำ และไม่ละลายน้ำให้สลายตัวหมดไป ตู้ปลาจะสะอาดไม่มีตะไคร่น้ำจับ สำหรับบ่อปลาจะไม่มีเน่าที่ก้นบ่อ นอกจากนั้นยังสามารถใช้ได้กับสัตว์น้ำอื่นๆ เช่น กบ,ตะพาบน้ำ, กุ้งก้ามกราม,กุ้งกุลาดำ และจระเข้ เป็นต้น

คุณสมบัติ
1.      ลดการเปลี่ยนถ่ายน้ำ
2.     รักษาความสดใสของน้ำในตู้ปลา
3.     กำจัดแอมโมเนียและไนไตร์
4.     ป้องกันโรคที่เกิดกับปลา
5.     ปลอดภัยกับคนและสัตว์เลี้ยงทุกชนิด

วิธีการใช้ 
วิธีการใช้งานสำหรับบ่อปลาขนาดเล็ก (ตู้ปลา/ อ่างปลา)
ใช้ Bactocel 5001 ในอัตรา 10 CC+ 400 ML
หากน้ำกำลังเสีย ให้ใส่ติดต่อกันทุกวัน จนกว่าน้ำจะใสสะอาด

บ่อขนาดกลาง 1 – 4 ไร่
ใช้ Bactocel 5001 ในอัตรา 200 -300 cc

  • บ่อปลาคราฟ ไม่เกิน 7 เมตร โดยประมาณ โดยใส่ทุกๆ 7 วัน
  • บ่อปลาทั่วไป (บ่อดิน) ใช้ 300 CC เทลงบ่อไม่เกิน 1 ไร่

*ขึ้นอยู่กับสภาพน้ำและปริมาณปลา

บ่อขนาดใหญ่ 5- 20 ไร่
ใช้ Bactocel 5001 อัตรา 350-500 Ccต่อบ่อ 1 ไร่ โดยใส่ทุก ๆ 10 วัน
(ถ้าน้ำเสียมากๆหรือต้องการเร่งด่วน ใส่ 5 วันครั้ง)

  • อัตรา 500-1000 Cc ต่อบ่อ 1ไร่ขึ้นไป

(ถ้าน้ำเสียมากๆหรือต้องการเร่งด่วน ใส่ 4 วันครั้ง)
** หากบ่อมีขนาดกว้างมากและน้ำเน่าเสียหนัก เช่นสระวัด บ่อน้ำขนาดใหญ่ ต้องใช้ปริมาณ 12 ขวด
ขึ้นไปจึงจะเห็นผลที่ชัดเจนขึ้นภายใน 30 วัน

คำเตือน ไม่ควรใช้กับยาฆ่าเชื้อยา)ฏิชีวนะ และสารเคมีทุกชนิดหากจำเป็นต้องใช้ยาและสารเคมีดังกล่าว ควรใช้ แบคโตเซล 5001  หลังจากใช้ยาและสารเคมี 3-5 วัน

ขนาดบรรจุ ; 300cc/1000cc/5000cc

One thought on “หามุมหลบให้ดี ก่อนเจอพิษร้ายใต้ทะเล

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *