ลัมปีสกิน โรคระบาดชวนสยองในวัว
โรคลัมปี สกิน เป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่สำคัญในโคกระบือ แต่ไม่ใช่โรคที่ติดสู่คนได้ เกิดจากเชื้อไวรัส 𝘓𝘶𝘮𝘱𝘺 𝘴𝘬𝘪𝘯 𝘥𝘪𝘴𝘦𝘢𝘴𝘦 𝘷𝘪𝘳𝘶𝘴 ในสกุล 𝘊𝘢𝘱𝘳𝘪𝘱𝘰𝘹𝘷𝘪𝘳𝘶𝘴
สัตว์ที่ติดเชื้อจะมีไข้สูง ต่อมน้ำเหลืองโต และมีตุ่มขนาดใหญ่ ประมาณ 2-5 เซนติเมตร ขึ้นที่ผิวหนังทั่วร่างกาย พบมากที่คอ หัว เต้านม ถุงอันฑะและหว่างขา ตุ่มที่ขึ้นอาจแตก ตกสะเก็ดและเกิดเป็นเนื้อตาย หรือมีหนอนแมลงมาชอนไชได้ อาจพบตุ่มน้ำใสขึ้นที่เยื่อเมือก ทางเดินหายใจและทางเดินอาหาร ทำให้มีอาการน้ำลายไหล ตาอักเสบ มีตุ่มขึ้นที่เยื่อเมือกตา น้ำตาไหลและมีขี้ตา
นอกจากนี้สัตว์ที่ติดเชื้อจะมีอาการซึม เบื่ออาหาร อาจมีภาวะเป็นหมันชั่วคราวหรือถาวร แท้งลูกและมีปริมาณน้ำนมลดลง อัตราการป่วยอยู่ที่ 5 – 45 % อัตราการตายน้อยกว่า 10% แต่อาจมีอัตราการตายสูงในพื้นที่ ที่ไม่เคยมีการระบาดมาก่อน ผลกระทบส่วนใหญ่จะอยู่ที่ผลผลิตที่ลดลง ทั้งนี้โคกระบือที่ติดเชื้อจะแสดงอาการดังต่อไปนี้

ระยะที่ 1
- มีไข้ โค กระบือ จะซึมไม่กินอาหาร
- มีไข้อาจมีน้ำตาและน้ำมูกในลูกสัตว์โดยมักจะพบใน ระยะ 1-2 วันแรกก่อน หรือพร้อมๆ กับการพบว่าสัตว์มีตุ่มขึ้นตามผิวหนัง แต่สัตว์ป่วยบางรายอาจสังเกตไม่พบระยะนี้

ระยะที่ 2
- มีตุ่มที่ผิวหนัง โค กระบือ มีต่อมน้ำเหลืองใต้ผิวหนังบวม มีตุ่มแข็งนูนลักษณะคล้ายฝี ขนาดแตกต่างกันที่ผิวหนังทุกชั้นและบางคร้ังอาจพบลึกลงไปจนถึงกล้ามเนื้อ
- ความรุนแรงของอาการจะขึ้นอยู่ กับปริมาณการติดเชื้อ ความแข็งแรงของสัตว์ และสายพันธุ์ บางตัวพบอาการบวมน้ำที่บริเวณลำคอ สาเหตุจากหลอดเลือดอักเสบ (vasculitis) หรือการกดทับของตุ่มที่ผิวหนังหรือต่อมน้ำเหลืองที่บวมในลูกสัตว์ มักจะแสดงอาการมากกว่าสัตว์โต
- อาจมีภาวะแทรกซ้อนของระบบทางเดินหายใจ สำหรับกระบือจะพบเป็นตุ่มเล็กๆ ซึ่งสังเกตได้ยากเนื่องจากผิวกระบือมีผิวหนังหนา

ระยะที่ 3
- ตุ่มที่ผิวหนังแตก โดยเริ่มสังเกตพบมีน้ำเหลืองเยิ้มซึมจากตุ่ม มีสะเก็ดหนา
- เมื่อตุ่มแตกจะเป็นแผลหลุมมีขอบแผลนูนสูง ซึ่งระยะเวลาการแตกของตุ่มผิวหนังจะไม่พร้อมกัน ระยะที่พบขอบตุ่มสีดำพบได้ในระยะเวลาประมาณ 1 สัปดาห์ หลังพบตุ่มและภายใน 2-3 สัปดาห์จะเกิดเป็นสะเก็ดแผลขึ้น แต่ในบางตัวที่พบกลุ่มที่มีขนาดใหญ่อาจพบว่าสะเก็ดอยู่ได้นาน 1-2 เดือน

ระยะที่ 4
- แผลเริ่มหาย เป็นระยะเริ่มมีการหายของแผล วงแผลจะแคบลงและตื้นขึ้นจนปิดสนิท และสีขนอาจเปลี่ยนไปในช่วงแรก โดยหากสัตว์เข้าสู่ระยะนี้มีความเป็นไปได้ว่าสัตว์ได้รับเชื้อและแสดงอาการมาแล้วไม่ต่ำกว่า 1 เดือน
วิธีการป้องกัน “โรคลัมปีสกิน”
- กำจัดแมลงพาหะนำโรค ด้วยการใช้สารเคมีหรือสารชีวภาพ สำหรับกำจัดแมลงแบบฉีด หรือแบบราดหลัง
- ปรับภูมิทัศน์โดยรอบฟาร์มให้โปร่งโล่ง ไม่ให้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของแมลงพาหะ
- กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง
- กำจัดมูลสัตว์เป็นประจำหรือใช้ผ้าใบคลุมเพื่อป้องกันแมลงมาวางไข่
- กางมุ้งให้แก่สัตว์เพื่อป้องกันแมลงดูดเลือด
- ทำความสะอาดคอกและอุปกรณ์ในการเลี้ยง และกักสัตว์ใหม่ก่อนนำเข้าพื้นที่
โรคนี้ไม่มีการรักษาจำเพาะทำได้เพียงรักษาตามอาการ ล่าสุดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์อนุมัติให้กลุ่มเกษตรกร สมาคมผู้เลี้ยงโคกระบือและภาคเอกชนนำเข้าวัคซีนป้องกันโรค LSDV ได้เช่นกันโดยปฏิบัติตามระเบียบที่กำหนด และหวังใช้วัคซีนจากพืชที่ผลิตในประเทศ Plant-Based Vaccine เสริมในลำดับต่อไป เพื่อควบคุมสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคให้เร็วที่สุดและทั่วถึง
“บริษัท ไมโครไบโอเทค จำกัด” ผู้ผลิตและผู้เชี่ยวชาญด้านจุลินทรีย์ สารชีวภัณฑ์ นวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม ด้วยประสบการณ์มากกว่า 30 ปี นำเสนอ ผลิตภัณฑ์ชีวภาพกำจัดกลิ่นเหม็นและของเสียในคอกสัตว์ แบคโตเซล4001 เป็นอีกตัวช่วยหนึ่งที่จะช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรให้สามารถป้องกันโรคร้ายที่จะเกิดขึ้นได้