รู้ยัง? เรื่องของปลากัด แต่ละสายพันธุ์

รู้ยัง? มาทำความรู้จักกับสายพันธุ์ปลากัดกัน

ปลากัด จ้องตากันแล้วท้อง ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใดจ้า เพราะปกติแล้ว ปลากัดตัวผู้จะจ้องตาตัวเมีย เพื่อกระตุ้นให้ตัวเมียสร้างไข่ในท้องเท่านั้น ก่อนที่ตัวผู้จะทำการรัดตัวเมียเพื่อให้ไข่ออกมา จากนั้นตัวผู้จึงปล่อยน้ำเชื้อใส่ไข่ แล้วอมไข่ไปพ่นติดกับหวอดที่ก่อไว้บริเวณผิวน้ำ ทำขั้นตอนทั้งหมดนี้ซ้ำ ๆ จนไข่ของตัวเมียหมดท้อง และสุดท้ายตัวผู้ก็จะคอยดูแลจนกว่าไข่จะฟักออกมาเป็นตัว ทั้งหมดนี้เรียกว่าการปฏิสนธิภายนอกนั่นเอง เมื่อรู้คำตอบแล้ว เรามาดูเรื่องราวและความสวยงามของ สายพันธุ์ปลากัด ชนิดต่าง ๆ กันต่อเลยดีกว่าค่ะ เผื่อเป็นสัตว์เลี้ยงอีกทางเลือกหนึ่ง ที่สร้างความเพลิดเพลินให้เราได้เลยนะคะ

ประเภทและ สายพันธุ์ปลากัด

ปลากัดที่พบตามแหล่งน้ำธรรมชาติ ในประเทศไทยมีอยู่ 3 ชนิด  ซึ่ง 2 ชนิดที่นิยมนำมากัดกัน แต่ไม่นิยมนำมาเลี้ยงหรือปรับปรุงพันธุ์นั้น ชนิดแรกคือปลากัดพื้นเมืองภาคใต้ (Betta imbellis) และอีกชนิดหนึ่งเป็นปลากัดพื้นเมืองภาคอีสาน (Betta smaragdina) ในระยะหลัง ได้มีการนำปลาป่าพื้นเมืองภาคใต้มาผสมข้ามสายพันธุ์บ้าง เพื่อให้ได้ลูกผสมที่กัดเก่ง หรือให้ได้สีและลักษณะที่สวยงาม

และปลากัดชนิดที่ 3 คือ ปลากัดที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Betta splendens หรือปลากัดไทย (Siamese Fighting Fish) ที่นิยมเลี้ยงกันมากในประเทศไทย และแพร่หลายไปทั่วโลกนั่นเอง โดยที่ปลากัดชนิดนี้ มีลักษณะทางพันธุกรรม ที่สามารถสร้างลักษณะสีและครีบได้มากมายแฝงอยู่ จึงทำให้มีการพัฒนาปลากัด สายพันธุ์ที่มีลักษณะใหม่ขึ้นมาเรื่อย ๆ และมีการตั้งชื่อปลาที่พัฒนาได้ใหม่นั้นด้วย

1.ปลากัดป่า หรือปลากัดลูกทุ่ง

เป็นสายพันธุ์ปลากัดที่พบในแหล่งน้ำธรรมชาติ ตามท้องนา และหนองบึง เป็นปลาขนาดเล็กที่ไม่มีลักษณะเด่นมากนัก ส่วนมากครีบ และหาง มีสีแดงเกือบตลอด มีประสีดำบ้างเล็กน้อย บางทีอาจมีแต้มสีเขียวอ่อนๆ เรียงต่อกันเป็นเส้นสีเขียวๆ ที่ครีบหลัง เวลาถอดสี ทั้งตัวและครีบ จะเป็นสีน้ำตาลด้านๆ คล้ายใบหญ้าแห้ง ในปัจจุบันคำว่า “ปลาป่า” หมายความรวมถึงปลากัดพื้นเมืองภาคอีสาน และปลากัดพื้นเมืองภาคใต้ด้วย

2.ปลากัดลูกหม้อ

เป็นปลากัดที่นักเพาะพันธุ์ปลาได้นำมาคัดสายพันธุ์ โดยมุ่งหวังจะได้สายพันธุ์ปลากัดใหม่ๆที่กัดเก่ง มีลักษณะลำตัวค่อนข้างหนาเมื่อเทียบกับสายพันธุ์อื่นส่วนหัวค่อนข้างโตปากใหญ่ ครีบสั้นสีเข้ม เดิมมักจะเป็นสีเขียวหรือสีน้ำเงินแกมแดง แต่ปัจจุบันมีหลายสี เช่นสีแดง สีน้ำเงิน สีม่วง  สีเขียว และสีนาก เป็นชนิดที่มีความอดทน กัดเก่ง ได้รับความนิยมสำหรับการกัดพนัน ปัจจุบันนิยมเรียกเป็นกลุ่มของ ปลากัดครีบสั้น

** ส่วนที่เรียกว่า “ปลาลูกหม้อ” นั้น น่าจะมาจากการนำหม้อดินมาใช้ในการเพาะและอนุบาลปลากัดในระยะแรก ๆ **

3.ปลากัดจีน

เป็นชื่อที่ใช้เรียกปลากัดครีบยาวมาช้านาน เข้าใจว่าอาจมาจากลักษณะครีบที่ยาวรุ่ยร่ายสีฉูดฉาดเหมือนงิ้วจีน ปลากัดจีน เป็นปลาที่พัฒนาสายพันธุ์ปลากัดมาจากปลาลูกหม้อ โดยผสมคัดพันธุ์ให้ได้ลักษณะที่มีครีบและหางยาวขึ้น ความยาวของครีบหางส่วนใหญ่จะยาวเท่ากับ หรือมากกว่าความยาวของลำตัวและหัวรวมกัน และมีการพัฒนาให้ได้สีใหม่ๆ และสวยงาม โดยนักเพาะเลี้ยงปลากัดชาวไทย ซึ่งได้พัฒนาสายพันธุ์สำเร็จมาช้านาน ก่อนที่ปลากัดจะถูกนำไปเลี้ยงในต่างประเทศ

** ปลากัดชนิดนี้เป็นชนิดที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามแพร่หลายไปทั่วโลก และได้มีการนำไปพัฒนาสายพันธุ์ปลากัดอย่างต่อเนื่อง จนได้สายพันธุ์ที่มีลักษณะใหม่ ๆ ออกมาอีกมากมาย **

4.ปลากัดหางพระจันทร์ครึ่งซีก หรือปลากัดฮาล์ฟมูนเดลตา

เป็นปลากัดที่มีหางแผ่เป็นรูปครึ่งวงกลม โดยขอบครีบหางจะแผ่เป็นแนวเส้นตรงเดียวกันเป็นมุม 180 องศา ครีบด้านนอกเป็นขอบเส้นโค้งของครึ่งวงกลม ก้านครีบหางแตกแขนง 2 ครั้ง เป็น 4 แขนง หรือมากกว่า ปลาที่สมบูรณ์จะต้องมีลำตัว และครีบสมส่วนกัน โดยลำตัวต้องไม่เล็กเกินไป ครีบหางแผ่ต่อเนื่องหรือซ้อนทับกับครีบหลังและครีบก้น จนเห็นเป็นเนื้อเดียวกัน ขอบครีบหลังโค้งมนเป็นส่วนหนึ่งของวงกลม เส้นขอบครีบทุกครีบโค้งรับเป็นเส้นเดียวกัน (ยกเว้นครีบอก) ปลายหางคู่ที่แยกเป็น 2 แฉก จะต้องซ้อนทับและโค้งมนสวยงาม ปลากัดหางพระจันทร์ครึ่งซีกที่แท้จริงจะต้องมีขอบครีบหางแผ่ทำมุม 180 องศา ได้ตลอดไป ถึงแม้ปลาจะมีอายุมากขึ้นก็ตามฃ

5.ปลากัดหางมงกุฎ หรือปลากัดคราวน์เทล

เป็นปลากัดที่ได้รับการพัฒนาสายพันธุ์ขึ้นใน พ.ศ. 2543 โดยนักเพาะเลี้ยงปลากัดชาวสิงคโปร์ เป็นปลากัดสายพันธุ์ใหม่ ที่มีหางจักเป็นหนาม เหมือนมงกุฎ และเป็นสายพันธุ์ปลากัดอีกชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมเลี้ยงกันมากในปัจจุบัน ลักษณะสำคัญของปลากัดชนิดนี้คือ ก้านครีบจะโผล่ยาวออกไปจากปลายหาง ลักษณะดูเหมือนหนาม ซึ่งอาจยาวหรือสั้นแตกต่างกันออกไป เช่นเดียวกับลักษณะการแยกของปลายหนาม และการแยกการเว้าโคนหนามก็มีหลายรูปแบบ ปลากัดหางมงกุฎที่สมบูรณ์จะมีครีบหางแผ่เต็ม ซ้อนทับได้แนวกับครีบอื่น ๆ และส่วนของหนามมีการจัดเรียงในรูปแบบที่สวยงามสม่ำเสมอ

6.ปลากัดหูช้าง

พัฒนาขึ้นโดยคนไทยในช่วง 10 กว่าปีมานี้ มีเอกลักษณ์โดดเด่นเฉพาะตัวคือมีครีบหูขนาดใหญ่เป็นพิเศษ กล่าวกันว่าปลากัดหูช้างที่พัฒนาได้ในช่วงแรกนั้นเมื่ออายุน้อยจะมีหูเล็กต้องรอจนกว่าปลาอายุมากขึ้นหูจึงจะมีขนาดใหญ่ตาม แต่ปัจจุบันสามารถพัฒนาพันธุ์ให้มีหูขนาดใหญ่ แม้ปลายังมีอายุไม่มากก็ตาม

เป็นอย่างไรบางค่ะกับสายพันธุ์ปลากัดต่าง ๆ ที่มีสีสันสวยงามสะดุดตาและจัดว่าเป็นยอดนักสู้ตัวฉกาจ ที่สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทย ด้วยเอกลักษณ์ที่โดดเด่น พร้อมทั้งสะท้อนถึงความเป็นไทย อีกทั้งยังมีประโยชน์อย่างมากในด้านเศรษฐกิจ เหมาะสมแล้วที่ถูกยกให้เป็น สัตว์น้ำประจำชาติของไทยค่ะ

Bactocel 5001  ผลิตภัณฑ์ชีวภาพกำจัดของเสียและรักษาสภาพน้ำในบ่อปลา
แบคโตเซล 5001 คือ กลุ่มของแบคทีเรียที่มีประโยชน์ ช่วยย่อยทำลายเศษอาหารสารแขวนลอย ทั้งที่ละลายน้ำ และไม่ละลายน้ำให้สลายตัวหมดไป ตู้ปลาจะสะอาดไม่มีตะไคร่น้ำจับ สำหรับบ่อปลาจะไม่มีเน่าที่ก้นบ่อ นอกจากนั้นยังสามารถใช้ได้กับสัตว์น้ำอื่นๆ เช่น กบ,ตะพาบน้ำ, กุ้งก้ามกราม,กุ้งกุลาดำ และจระเข้ เป็นต้น

คุณสมบัติ
1.      ลดการเปลี่ยนถ่ายน้ำ
2.     รักษาความสดใสของน้ำในตู้ปลา
3.     กำจัดแอมโมเนียและไนไตร์
4.     ป้องกันโรคที่เกิดกับปลา
5.     ปลอดภัยกับคนและสัตว์เลี้ยงทุกชนิด

วิธีการใช้ 
วิธีการใช้งานสำหรับบ่อปลาขนาดเล็ก (ตู้ปลา/ อ่างปลา)
ใช้ Bactocel 5001 ในอัตรา 10 CC+ 400 ML
หากน้ำกำลังเสีย ให้ใส่ติดต่อกันทุกวัน จนกว่าน้ำจะใสสะอาด

บ่อขนาดกลาง 1 – 4 ไร่
ใช้ Bactocel 5001 ในอัตรา 200 -300 cc

  • บ่อปลาคราฟ ไม่เกิน 7 เมตร โดยประมาณ โดยใส่ทุกๆ 7 วัน
  • บ่อปลาทั่วไป (บ่อดิน) ใช้ 300 CC เทลงบ่อไม่เกิน 1 ไร่

*ขึ้นอยู่กับสภาพน้ำและปริมาณปลา

บ่อขนาดใหญ่ 5- 20 ไร่
ใช้ Bactocel 5001 อัตรา 350-500 Ccต่อบ่อ 1 ไร่ โดยใส่ทุก ๆ 10 วัน
(ถ้าน้ำเสียมากๆหรือต้องการเร่งด่วน ใส่ 5 วันครั้ง)

  • อัตรา 500-1000 Cc ต่อบ่อ 1ไร่ขึ้นไป

(ถ้าน้ำเสียมากๆหรือต้องการเร่งด่วน ใส่ 4 วันครั้ง)
** หากบ่อมีขนาดกว้างมากและน้ำเน่าเสียหนัก เช่นสระวัด บ่อน้ำขนาดใหญ่ ต้องใช้ปริมาณ 12 ขวด
ขึ้นไปจึงจะเห็นผลที่ชัดเจนขึ้นภายใน 30 วัน

คำเตือน ไม่ควรใช้กับยาฆ่าเชื้อยา)ฏิชีวนะ และสารเคมีทุกชนิดหากจำเป็นต้องใช้ยาและสารเคมีดังกล่าว ควรใช้ แบคโตเซล 5001  หลังจากใช้ยาและสารเคมี 3-5 วัน

ขนาดบรรจุ ; 300cc/1000cc/5000cc

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *