รวมสายพันธุ์แกะที่ใช้ทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ
แกะเป็นสัตว์เลี้ยงที่มีคุณค่า ขนและหนังใช้ทำเครื่องนุ่งห่ม เนื้อ นม ใช้บริโภค ทำเครื่องสำอาง ลำไส้เล็กทำด้ายสำหรับเย็บแผลผ่าตัด ขึงเป็นสายในเครื่องดนตรีหลายชนิด เป็นส่วนประกอบไส้กรอกบางชนิด และมูลแกะยังเป็นปุ๋ยที่มีความสำคัญในฟาร์มอีกด้วย
แต่อย่างไรก็ตามแนมโน้มของการทำฟาร์มแกะนั้น การเลี้ยงแกะกึ่งขนและกึ่งเนื้อ เป็นที่นิยมมากกว่า เนื่องจากมีเส้นใยสังเคราะห์ที่สามารถนำมาผลิตเป็นเสื้อผ้าแทนขนแกะได้อย่างใกล้เคียง เนื้อแกะโดยเฉพาะเนื้อจากลูกแกะ (Lamb) จะเป็นที่นิยมของผู้บริโภคมากที่สุด ทั้งนี้มาจากคุณค่าทางอาหารโดยเฉพาะปริมาณฟลูออรีน ซึ่งมีผลดีต่อฟัน
ผู้เลี้ยงสัตว์หลายๆ คนให้ความเห็นว่า การเลี้ยงโคและเลี้ยงแกะควบคู่กันไปเป็นสิ่งที่ทำได้ เพราะสัตว์สองชนิดไม่มีปัญหาในการแย่งอาหารกัน ทั้งนี้เพราะแกะจะกินอาหารหยาบเป็นบางชนิดเท่านั้น ซึ่งต่างกับโค จากสรีระของแกะซึ่งมีลักษณะปากแคบและสามารถขยับริมฝีปากบนได้ จึงสามารถเลือกกินส่วนที่ดีที่สุดของอาหาร
พันธุ์แกะที่เพื่อการตัดขนและผลิตเนื้อ
1.พันธุ์คอร์ริเดล (Corriedale)
แกะพันธุ์คอร์ริเดลได้รับการปรับปรุงพันธุ์ในประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์โดยการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่าง ลินคอล์น ลีเชสเตอร์และเมอริโต ปัจจุบันเป็นที่นิยมกันมากใน อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ เอเชียและอัฟริกาใต้
แกะพันธุ์คอร์ริเดลเป็นแกะกึ่งเนื้อกึ่งขน โครงสร้างใหญ่ไม่มีเขาและผลิตเนื้อที่มีคุณภาพ ไม่ว่าจะเป็น Lamb, hogget และ mutton (lamb = เนื้อลูกแกะอายุไม่ 5 เดือน, hogget = เนื้อจากลูกแกะช่วงอายุ 10-14 เดือน) (Mutton = เนื้อแกะ) ถึงแม้ว่าโดยทั่วไปแล้วการผลิตเนื้อแกะชั้นเยี่ยมจากแกะพันธุ์นี้จะต้องผสมด้วยพ่อแกะพันธุ์เนื้อ (meat type) แต่ปัจจุบันเนื้อแกะที่ผลิตจากแกะพันธุ์ Corriedale กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นรวมไปถึงหนังแกะพันธุ์นี้ก็มีค่ามากเช่นกันและจะให้ปริมาณขน 5-6 กก. ต่อการตัด 1 ครั้ง (ตัดปีละครั้ง) fiber diameter 27 ไมครอน (เฉลี่ย 25-32 ไมครอน) staple length 150 มม.
2.พันธุ์บอนด์ (Bond)
แกะพันธุ์บอนด์ ได้รับการปรับปรุงพันธุ์ในประเทศออสเตรเลียจากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างเปปปินเมอริโน และพ่อพันธุ์ลินคอล์นที่นำเข้า เป็นแกะกึ่งเนื้อกึ่งขน จะให้น้ำหนักขนสูงประมาณ 5 กก. สีค่อนข้างขาว long staple และ fiber diameter 22-28 ไมครอน แกะพันธุ์นี้ได้รับการยกย่องว่าลำตัวค่อนข้างยาวและเจ้าเนื้อ ลูกแกะจะมีอัตราการเจริญเติบโตที่ดี นอกจากนี้ยังมีความอดทน จึงทำให้แกะพันธุ์นี้สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปมาได้อย่างดี
3.พันธุ์ดอร์เซท (Dorset)
กรมปุศสัตว์ได้นำเข้าตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 โดยนำไปเลี้ยงที่ สถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์ปลวกแดง จังหวะระยอง ซึ่งระยะแรกดำเนินงานภายใต้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
บริเวณอ่างเก็บน้ำดอกกราย อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยองและกรมปุศสัตว์ ได้นำแกะลูกผสมดอร์เซท พื้นเมืองให้เกษตรบ้านห้วยห้อม จ.แม่ฮ่องสอน ทดเลี้ยงและใช้เป็นแกะพื้นฐานในการทดสอบ ปรับตัวของแกะที่นำเข้าใหม่ทั้ง 2 พันธุ์
แกะพันธุ์ดอร์เซทเป็นแกะที่มีถิ่นกำเนิดทางตอนใต้ของประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกาได้นำเข้าเมื่อปี ค.ศ. 1885 ต่อมาในปี ค.ศ. 1948 เกิดการกลายพันธุ์ (Mutation) เป็นแกะที่ไม่มีเขา (Polled Dorset) ซึ่งเป็นที่นิยมของเจ้าของฟาร์มทั่วไป พ่อพันธุ์ที่ผสมกับแม่พันธุ์ที่มีขนนุ่ม (fine-wool ewe) จะให้ลูกผสมเพศเมีย ซึ่งผสมพันธุ์ได้ทั้งปี (ไม่มีฤดูผสมพันธุ์) แกะพันธุ์ดอร์เซทเป็นแกะขนาดกลาง หน้าขาว มีขนที่ขา น้ำนมมาก ให้ขนปานกลางและไม่มีขนสีดำเจือปน
พันธุ์แกะที่ใช้สำหรับผลิตเนื้อ (แกะเนื้อ)
1.พันธุ์คาทาดิน (Katahdin)
กรมปศุสัตว์ได้รับการสนับสนุนแกะพันธุ์นี้จากสถาบันวินร็อคประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อปีพ.ศ. 2532 เป็นแกะเนื้อที่ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดีสามารถเลี้ยงปล่อยตามทุ่งหญ้าธรรมชาติและสลัดขนได้เมื่ออากาศร้อนทนพยาธิภายในมากกว่าแกะพันธุ์อื่นเนื้อแกะมีคุณภาพดีไม่มีกลิ่นสาบน้ำหนักแรกเกิด 2.5-3.0 กิโลกรัม น้ำหนักหย่านม 18- 20 กิโลกรัมโตเต็มที่ตัวผู้หนัก 90 กิโลกรัมตัวเมียหนัก 55-60 กิโลกรัม
2.พันธุ์ซานตาอินเนส (Santa Ines)
เป็นแกะเนื้อนำเข้าจากประเทศบราซิลปี พ.ศ. 2540 ขนาดใหญ่ ใบหูยาวปลุกหน้าโค้งนูนมีหลายสีน้ำหนักแรกเกิด 2.5-3.0 กิโลกรัมน้ำหนักหย่านม 18-20 กิโลกรัมโตเต็มที่ตัวผู้หนัก 80-90 กิโลกรัม ตัวเมียจะหนัก 60 กิโลกรัม
3.พันธุ์บาร์บาโดส แบลเบลลี่ (Barbados Blackbelly)
เป็นแกะเนื้อมีถิ่นกำเนิดในหมู่เกาะบาร์บาโดส แถบทะเลแคริบเบียนมีสีน้ำตาลอ่อนถึงเข้มและจะมีสีดำที่ใต้คาง ใต้ใบหู ขอบตา และบริเวณพื้นท้องลงมาถึงใต้ขา มีลักษณะพิเศษคือให้ลูกดกอัตราการเกิดลูกแฝดสูงถึง 60.8% แม่แกะวัยเจริญพันธุ์หนัก 45 กิโลกรัมขนาดคอก 1.5- 2.3 ตัวต่อคอก มีน้ำหนักแรกเกิดลูกเดียว 3.0 กิโลกรัมลูกแฝด 2.8 กิโลกรัมน้ำหนักหย่านมเมื่ออายุสี่เดือนลูกเดียว 13.7 กิโลกรัมลูกแฝด 13.4 กิโลกรัมและมีน้ำหนักโตเต็มที่เพศผู้ 68- 90 กิโลกรัมเพศเมีย 40- 59 กิโลกรัม

Bactocel 4001 ผลิตภัณฑ์ชีวภาพกำจัดกลิ่นเหม็นและของเสียในคอกสัตว์
แบคโตเซล 4001 คือ กลุ่มของแบคทีเรียที่มีประโยชน์ สามารถช่วยย่อยสลายสิ่งปฏิกูลและเศษอาหารที่เหลือตกค้างในคอกสัตว์ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดกลิ่นเหม็นช่วยป้องกันโรคต่างๆ ที่เกิดกับสัตว์เลี้ยง ตลอดจนปัญหาแมลงวันรบกวนจะหมดไปรวมถึงช่วยแก้ปัญหาเกี่ยวกับมลภาวะต่างๆ ที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญภานในฟาร์ม และชุมชนให้หมดไป
คุณสมบัติ
1. ย่อยสลายสิ่งปฏิกูลและเศษอาหารที่เหลือตกค้างในคอกสัตว์ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดกลิ่นเหม็นช่วยป้องกันโรคต่าง ๆเกิดกับสัตว์เลี้ยง
วิธีการใช้
1. คอกหมู : ใช้ แบคโตเซล 4001 ในอัตรา 100 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วพื้นที่คอก สัปดาห์ละครั้ง ทำให้คอกสัตว์สะอาด ปราศจากกลิ่นเหม็นและแมลงวัน อีกทั้งสามารถป้องกันโรคต่างๆได้ หากหมูเป็นโรคปากเท้าเปื่อย ให้ใช้ แบคโตเซล 4001 ผสมน้ำฉีดพ่นให้ทั่วตัว และบริเวณกีบเท้า อาการจะค่อยๆ ทุเลาลง
2. คอกวัว : ใช้แบคโตเซล 4001 ในอัตราเดียวกันฉีดพ่นให้ทั่วพื้นที่คอกกลิ่นเหม็นและแมลงวันจะลดลงและหมดไปในที่สุด อีกทั้งช่วยป้องกันโรคกีบเท้าเปื่อยในวัวเนื้อและวัวนมอีกด้วย
3. ฟาร์มไก่ : ใช้แบคโตเซล 4001 ในอัตราเดียวกัน ฉีดพ่นให้ทั่วพื้นที่บริเวณใต้เล้าไก่และที่รองรับมูลไก่ สำหรับไก่ไข่ จะสามารถกำจัดแก๊สไข่เน่า แก๊สแอมโมเนีย ซึ่งเป็นสาเหตที่ทำให้ไก่เป็นโรคตาอักเสบและโรคระบบทางเดินหายใจ ซึ่งทำให้ไก่ไข่น้อยลง เปลือกไข่บางมีเปอร์เซ็นต์ไข่ร้าวและแตกสูง
ขนาดบรรจุ ; 300cc/1000cc/5000cc