การบำบัดน้ำเสีย

การเลือกระบบบำบัดน้ำเสียขึ้นกับปัจจัยต่างๆ ได้แก่ ลักษณะของน้ำเสีย ระดับการบำบัดน้ำเสียที่ต้องการ สภาพทั่วไปของท้องถิ่น ค่าลงทุนก่อสร้างและค่าดำเนินการดูแลและบำรุงรักษา และขนาดของที่ดินที่ใช้ในการ ก่อสร้าง เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้ระบบบำบัดน้ำเสียที่เลือกมีความเหมาะสมกับแต่ละท้องถิ่น ซึ่งมีสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน โดยการบำบัดน้ำเสียสามารถแบ่งได้ตามกลไกที่ใช้ในการกำจัดสิ่งเจือปนในน้ำเสีย

1. การบำบัดทางกายภาพ (Physical Treatment) : เป็นวิธีการแยกเอาสิ่งเจือปนออกจากน้ำเสีย เช่น ของแข็งขนาดใหญ่ กระดาษ พลาสติก เศษอาหาร กรวด ทราย ไขมันและน้ำมัน โดยใช้อุปกรณ์ในการบำบัดทางกายภาพ คือ ตะแกรงดักขยะ ถังดักกรวดทราย ถังดักไขมันและน้ำมัน และถังตกตะกอน ซึ่งจะเป็นการลดปริมาณของแข็งทั้งหมดที่มีในน้ำเสียเป็นหลัก

2. การบำบัดทางเคมี (Chemical Treatment) : เป็นวิธีการบำบัดน้ำเสียโดยใช้กระบวนการทางเคมี เพื่อทำปฏิกิริยากับสิ่งเจือปนในน้ำเสีย วิธีการนี้จะใช้สำหรับน้ำเสียที่มีส่วนประกอบอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ คือ ค่าพีเอชสูงหรือต่ำเกินไป มีสารพิษ มีโลหะหนัก มีของแข็งแขวนลอยที่ตกตะกอนยาก มีไขมันและน้ำมันที่ละลายน้ำ มีไนโตรเจนหรือฟอสฟอรัสที่สูงเกินไป และมีเชื้อโรค ทั้งนี้อุปกรณ์ที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีทางเคมี ได้แก่ ถังกวนเร็ว ถังกวนช้า ถังตกตะกอน ถังกรอง และถังฆ่าเชื้อโรค

3. การบำบัดทางชีวภาพ (Biological Treatment) : เป็นวิธีการบำบัดน้ำเสียโดยใช้กระบวนการทาง ชีวภาพหรือใช้จุลินทรีย์ ในการกำจัดสิ่งเจือปนในน้ำเสียโดยเฉพาะสารคาร์บอนอินทรีย์ ไนโตรเจน และฟอสฟอรัส โดยความสกปรกเหล่านี้จะถูกใช้เป็นอาหารและเป็นแหล่งพลังงานของจุลินทรีย์ในถังเลี้ยงเชื้อเพื่อการเจริญเติบโต ทำให้น้ำเสียมีค่าความสกปรกลดลง โดยจุลินทรีย์เหล่านี้อาจเป็นแบบใช้ออกซิเจน (Aerobic Organisms) หรือไม่ใช้ออกซิเจน (Anaerobic Organisms) ก็ได้ ระบบบำบัดน้ำเสียที่อาศัยหลักการทางชีวภาพ ได้แก่ ระบบ แอกทิเวเต็ดสลัดจ์ (Activate Sludge, AS) ระบบแผ่นจานหมุนชีวภาพ (Rotating Biological Contactor, RBC) ระบบคลอง วนเวียน (Oxidation Ditch, OD) ระบบบ่อเติมอากาศ (Aerated Lagoon, AL) ระบบโปรยกรอง(Trickling Filter) ระบบบ่อบำบัดน้ำเสีย (Stabilization Pond) ระบบยูเอเอสบี (Upflow Anaerobic Sludge Blanket, UASB) และ ระบบกรองไร้อากาศ (Anaerobic Filter, AF) เป็นต้น

ผลิตภัณฑ์ชีวภาพกำจัดกากของเสียแบคโตเซล 2001

สามารถแก้ปัญหากลิ่นเหม็นจากการเน่าเน่าเสียในโถส้วม บ่อน้ำเสีย บ่อบำบัดน้ำเสีย  ท่อระบายน้ำ และจุดต่างๆ ที่มีปัญหากลิ่นเหม็นโดยการเข้าย่อยสลายกากของเสีย เป็นต้นเหตุของกลิ่นเหม็น ให้สลายตัวจึงเป็นการจัดการกับปัญหากลิ่นเหม็นที่ต้นเหตุ ลดค่า BOD, COD และ SS ให้ต่ำลง เป็นต้นเหตุของกลิ่นเหม็น ให้สลายตัว จึงเป็นการจัดการกับปัญหากลิ่นเหม็นที่ต้นเหตุ

คุณสมบัติ 
1.      ลดปัญหากลิ่นเหม็นจากโถสุขภัณฑ์ บ่อบำบัดน้ำเสีย ท่อระบาย และบริเวณที่ที่มีกลิ่นเหม็นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.     ย่อยสลายกากของเสียที่เป็นต้นตอของกลิ่นเหม็นได้ดี

วิธีใช้ 

แบบผง

  • เท แบคโตเซล 2001 ลงในจุดที่มีปัญหากลิ่นเหม็น  ครั้งละ 100-200 กรัม แล้วราดน้ำตาม กลิ่นเหม็นจะลดลงภายใน 24 ชั่วโมง ใช้ซ้ำทุกสัปดาห์ บ่อบำบัดน้ำเสีย ครั้งแรกใช้อัตรา 3 ppm (3 กก./น้ำ 1,000 ลบ.ม ) หลังจากนั้นใช้ทุกๆ 15-30 วัน ในอัตรา 1 ppm (1 กก./น้ำ 1,000 ลบ.ม ) เพื่อให้ปัญหาหมดไป ไม่กลับมาอย่างถาวร


ขนาดบรรจุ ; 300cc/1000cc/5000cc/1000g

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *